การปฐมพยาบาลบาดแผลปิด


บริษัทสยาม เมดิคอล เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
ผู้ให้บริการอบรม

1. หลักสูตรการปฐมพยาบาลและปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
( First Aid And Basic Life Support )



 2. หลักสูตรการปฐมพยาบาลขั้น 2 ( สูง ) ระยะเวลาอบรม 3 วัน
( First Aid  Level 2 and Cardio Life Support with AED  )

หมายเหตุ 1 : เนื้อหาของบทความด้านล่างเกิดจากประสบการณ์จริง ของผู้เขียนทั้งในบทบาทของผู้ให้การรักษาพยาบาล ผู้พบเห็นในขณะที่ยังทำงานในตึกอุบัติเหต และบทบาทของวิทยากร ผู้เขียนจึงอยากนำเทคนิค ดังกล่าวมาถ่ายทอด เพื่อประโยชน์ต่อนักปฐมพยาบาลทุกคนที่มีส่วนช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ อีกทั้งยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับ
ผู้
บาดเจ็บ อันจะส่งผลให้ผู้บาดเจ็บสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ





การปฐมพยาบาลบาดแผลปิดบาดแผล หมายถึง
การบอบช้ำ หรือ
และการฉีกขาดของผิวหนัง/กล้ามเนื้อของร่างกาย
ความรุนแรงขึ้นอยู่กับสิ่งที่มากระทบและตำแหน่งของการบาดเจ็บ


บาดแผลแบ่งออกเป็นกี่ชนิด ?
โดยทั่วไปเราแบ่งบาดแผลออกเป็น 2 ชนิด เพื่อให้ง่ายต่อการปฐมพยาบาลนั่นเอง
1.
บาดแผลปิดด้แก่บาดแผลที่ได้รับอันตรายจากวัสดุไม่มีคมมากระทบเช่น ถูกต่อย สิ่งของหล่นใส่ มีอาการฟกช้ำ บวม เขียวช้ำ เป็นต้น
2.
บาดแผลเปิดด้แก่บาดแผลที่ได้รับอันตรายและมีการฉีกขาดของผิวหนังและกล้ามเนื้อ มีเลือดซึมออกมา
ต่อไปนี้เราจะมาดูวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ผู้บาดเจ็บที่ได้รับอันตรายและมีลักษณะบาดแผลเป็นแบบปิด

ก่อนอื่นเรามาดูว่า เหตุใดผู้บาดเจ็บที่ถูกวัสดุหล่นใส่หรือถูกกระแทก ทำไมบาดแผลบริเวณนั้นจึงมีอาการบวม ช้ำเขียว ?
เหตุผลก็เนื่องมาจากเส้นเลือดฝอยที่นำเลือดและออกซิเจนมาเลื้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นได้รับการกระแทกและมีผลทำให
้เส้นเลือดฝอยดังกล่าวแตก หากเปรียบเส้นเลือดฝอยเป็นท่อประปา หัวใจเป็นเครื่องปั๊มน้ำ ทุกครั้งที่หัวใจมีการเต้น จะีการสูบฉีดเลือดให้วิ่งไปตามท่อ เมื่อมีรูหรือมีการฉีกขาดของเส้นเลือด เลือดก็จะไหลออกจากท่อ ไปคั่งอยู่ในกล้ามเนื้อใต้ชั้นผิวหนัง อันเป็นสาเหตุของการบวมนั่นเอง
เมื่อเรารู้ถึงสาเหตุของการบวมแล้ว ก็ต้องแก้ที่ต้นเหตุเช่นกัน
นั่นคือทำให้รูที่เกิดจากการฉีกขาดเล็กลงเพื่อให้เลือดไหลออกน้อยลงนั่นเอง
หลักการการปฐมพยาบาลให้ใช้หลักการ " RICE "R = REST
ให้ผู้บาดเจ็บหยุดการเคลื่อนไหวอวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บทันที เพราะถ้ายิ่งเคลื่อนไหว ยิ่งทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณนั้นแตกมากขึ้นนั่นเอง
I = ICE ใช้ความเย็นหรือน้ำแข็งประคบ/วางบนบริเวณที่ได้รับการบาดเจ็บทันที อย่างน้อยนานประมาณ 30 นาที หากคุณใช้น้ำแข็งให้ห่อน้ำแข็งด้วยผ้าที่ชุบน้ำหมาดๆจะเป็นการกระจายความเย็นได้ดีที่สุด ให้ประคบด้วยความเย็นไปตลอดเมื่อมีโอกาส โดยให้ประคบด้วยความเย็นหรือน้ำแข็งเพียง 1 วันหลังจากได้รับอุบัติเหตุเท่านั้น แต่เมื่อเลย 1 วันหลังเกิดเหตุใ้ห้ใช้น้ำอุ่นประคบ เหตุผลที่ให้ประคบด้วยความเย็นใน 1 ว้นแรกหลังเกิดเหตุก็เนื่องจากเมื่อเส้นเลือดฝอยบริเวณที่ได้รับอันตรายถูกความเย็นจะมีการหดตัว เป็นผลทำให้รูหรือรอยฉีกขาดของเส้นเลือดหดเล็กลง จึงทำให้เลือดซึมหรือไหลออกจากเส้นเลือดน้อยลงนั่นเอง ทำให้บวมน้อยลง แต่พอหลังจาก 1 วันหลังเกิดเหตุให้ประคบด้วยของอุ่น ก็เพราะมีเลือดบางส่วนที่ไหลออกมาคั่งอยู่ใต้้ผิวหนัง หลังจากได้รับอุบัติเหตุ พอเส้นเลือดได้รับของอุ่นจะขยายตัว และจะดูดซึมเลือดที่คั่งอยู่ให้กับเข้าสู่ร่ายกาย ทำให้ลดอาการบวมลงได้

ความเชื่อที่ผิด และมักได้รับการปฏิบัติเสมอมา !นักปฐมพยาบาลหรือผู้บาดเจ็บบางท่านให้การปฐมพยาบาลที่ผิด จนมีผลทำให้เกิดอาการบวมมากขึ้น นั่นคือการทาด้วยยาที่ีมีสูตรร้อน ใน1วันแรกหลังเกิดเหตุ จนมีผลทำให้เส้นเลือดเกิดการขยายตัว รูหรือรอยฉีกขาดเปิดกว้างขึ้น ทำให้เกิดอาการบวมเพิ่มขึ้น ฉะนั้นใน 1 วันแรกให้ใช้น้ำแข็ง ร่วมกับหลักการข้ออื่นก็เพียงพอแล้ว หากต้องการใช้ยาสูตรร้อนให้ใช้ในว้นที่ 2 โดยให้ทาอย่างเดียวไม่นวดเด็ดขาด
C = COMPRESSION
คือการยึดเพื่อไม่ให้อวัยวะที่ได้รับอันตรายมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น อันจะส่งผลให้เส้นเลือดและกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวฉีกขาดเพิ่มขึ้นนั่นเอง การยึดดังกล่าวอาจใช้ ผ้าหรือ ผ้ายืด พัน หลักการพันผ้ายืดควรพันให้กระชับ ไม่หลวมหรือคับจนเกินไป และที่สำคัญ ขนาดหรือไซส์ของผ้าต้องเหมาะสมกับขนาดของอวัยวะที่จะพัน เช่น ผ้ายืดขนาด 2-3 " ให้ใช้พันบริเวณมือ ข้อมือ ขนาด 4-5 " พันบริเวณ ต้นแขน ขาส่วนปลาย ขนาด 6 " พันบริเวณ ต้นขา หรือหน้าอก เป็นต้น

E = ELEVATION
การยกอวัยวะส่วนที่ได้รับบาดเจ็บให้สูงกว่าระดับหัวใจนั่นเอง จะมีผลทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณดังกล่าวน้อยลง ส่งผลให้เกิดการบวมลดลง
นักปฐมพยาบาลทุกคน เพียงคุณใช้หลักการดังกล่าวข้างต้น คุณก็สามารถช่วยให้บาดแผลปิดของผู้บาดเจ็บลดบวม หายได้เร็วขึ้น ลองนำไปใช้ดูนะครับหมายเหตุ 2 :
- หากท่านผู้อ่านต้องการบทความ/ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในหัวข้ออื่นๆ
ท่านสามารถส่งเมล์มาได้ที่ siammtc@gmail.com
- บริษัทสยามเมดิคอลเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด 087-034-9000 , 088-892-5193 , 095-515-6086
ผู้ให้บริการฝึกอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลและการกู้ชีวิตเบื้องต้น
หากท่านต้องการทราบรายละเอียดและราคาเกี่ยวกับหลักสูตรดังกล่าวกรุณาติดต่อได้ที่
บริษัทสยามเมดิคอลเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด หรือ อีเมล์ siammtc@gmail.com

ขั้นตอนการเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ( Step for Aider )


บริษัทสยาม เมดิคอล เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
ผู้ให้บริการอบรม

 1. หลักสูตรการปฐมพยาบาลและปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
( First Aid And Basic Life Support )



2. หลักสูตรการปฐมพยาบาลขั้น 2 ( สูง ) ระยะเวลาอบรม 3 วัน
( First Aid Level 2 and Cardio Life Support with AED  )


หมายเหตุ 1 : เนื้อหาของบทความด้านล่างเกิดจากประสบการณ์จริง ของผู้เขียนทั้งในบทบาทของผู้ให้การรักษาพยาบาล ผู้พบเห็นในขณะที่ยังทำงานในตึกอุบัติเหต และบทบาทของวิทยากร ผู้เขียนจึงอยากนำเทคนิค ดังกล่าวมาถ่ายทอด เพื่อประโยชน์ต่อนักปฐมพยาบาลทุกคนที่มีส่วนช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ อีกทั้งยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับ
ผู้
บาดเจ็บ อันจะส่งผลให้ผู้บาดเจ็บสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ




ขั้นตอนการเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ( Step for Aider )
เหตุผลที่ต้องเขียนหัวข้อนี้ขึ้นมา เพราะนี่คือประเด็นหลักที่นักปฐมพยาบาลเบื้องต้นต้องคำนึงเสมอในการเข้าช่วย เนื่องจากหากผู้ที่เข้าช่วยเหลือไม่ทำตามStep หรือขั้นตอนที่จะกล่าวต่อไปนี้ นอกจากตัวผู้เข้าช่วยจะไ้ด้รับอันตรายแล้ว ยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อตัวผู้บาดเจ็บด้วย ซึ่่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลักด้วยกันคือ

1. มีสติ

นี่เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่นักปฐมพยาบาลจะต้องมี ทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์ หรืออุบัติเหตุ ผู้เข้าช่วยเหลือต้องมีสติ รับรู้ว่ามีเหตุการณ์อะำไรเกิดขึ้น สถานการณ์ ณ ปัจจุบันเป็นอย่างไร ตัวผู้เข้าช่วยสามารถเข้าช่วยหรือควบคุมสถานการณ์ ได้เองหรือไม่ จำเป็นต้องขอความช่วยจากใครหรือไม่ การตัดสินใจเหล่านี้สำคัญมากทั้งตัวผู้เข้าช่วย และผู้บาดเจ็บ

2. ประเมินสถานการณ์

นี่เป็นหัวข้อที่นักปฐมพยาบาลเบื้องต้นมักจะละเลย หรือไม่ให้ความสำคัญ คุณลองนึกถึงภาพเหตุการณ์หากมีพนักงานบริษัทคุณถูกไฟ้ฟ้าดูดอยู่คุณจะทำอย่างไร ? หากคุณรีบวิ่งเข้าไปช่วยโดยไม่ได้มีการประเมินสถานการณ์ก่อน คุณหรือผู้เข้าช่วยจะกลายเป็นผู้บาดเจ็บรายที่สองทันที เพราะอาจยังมีกระแสไฟที่สามารถทำอันตรายต่อตัวผู้เข้าช่วย มิหนำซ้ำ
ต้วผู้บาดเจ็บก็ยังคงได้รับอันตรายจากกระแสไฟอยู่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผู้เข้าช่วยเหลือต้องคำนึงทุกครั้งในขณะเข้าช่วยนอกจากการมีสติแล้ว ก็คือการประเมินสถานการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยต้องประเมินให้ครบทั้งสามด้าน คือ
2.1 ประเมินสถานการณ์เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับตัวผู้เข้าช่วย
2.2 ประเมินสถานการณ์เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับตัวผู้บาดเจ็บเพิ่มเติม

2.3
ประเมินสถานการณ์เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับบุคคลรอบข้าง
หากประเมินแล้วพบว่าอันตรายยังคงมีอยู่ไม่ว่าจะเกิดกับตัวผู้เข้าช่วย / ผู้บาดเจ็บ /บุคคลรอบข้าง ต้องระงับหรือขจัดอันตรายเหล่านั้นออกไปก่อน


3. ประเมินผู้บาดเจ็บ
ขั้นตอนนนี้ถือว่าขั้นตอนที่สาม ไม่ใช่ขั้นตอนที่หนึ่ง ทำไมต้องเขียนเ่ช่นนี้ เพราะผู้เข้าช่วยเหลือส่วนใหญ่มักจะปฏิบัติขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรก แล้วเกิดอะำไรขึ้น หากคุณนึกภาพเหตุการณ์ในข้อที่สองได้ หากผู้เข้าช่วยเหลือเข้าไปประเมินโดยการถูกตัวผู้บาดเจ็บทันทีจะเกิดอะไรขึ้น ฉะนั้นขอให้คำนึงเสมอว่า ก่อนที่ผู้เข้าช่วยเหลือจะเข้าถึงตัวผู้บาดเจ็บ ต้องผ่านสองขั้นตอนด้านบนมาก่อน

การประเมินผู้บาดเจ็บจะแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้
3.1 การประเมินผู้บาดเจ็บระยะเร่งด่วน
จำไว้เลย ! ขั้นตอนนี้ไม่ทำไม่ได้ นั่นคือขั้นตอนการประเมินสภาวะการมีชีวิตอยู่ของผู้บาดเจ็บ โดยประเมิน 3 ระบบดังนี้ คือ

  • ระบบประสาท
  • ระบบหายใจ
  • ระบบไหลเวียนโลหิต
ซึ่งทั้ง 3 ระบบนี้ต้องทำงานประสานกัน หากพบว่าระบบใดหยุดทำงาน ต้องรีบแก้ไข หรือกู้คืนทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบหายใจ / และระบบไหลเวียนโลหิต
3.2 การประเมินผู้บาดเจ็บระยะทั่วไป
การประเมินระยะนี้จะทำได้ก็ต้องเมื่อการประเมินระยะเร่งด่วนได้ผ่านพ้นไปแล้ว นั่นหมายความว่า ผู้บาดเจ็บยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง การประเมินระยะนี้ก็คือ การตรวจร่างกายผู้บาดเจ็บ โดยต้องตรวจให้ครบทุกระบบ ตั้งแต่ศีรษะ ถึงเท้า

4. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
แน่นอนหลังจากที่ผู้เข้าช่วยเหลือประเมินผู้บาดเจ็บ อาจจะพบสาเหตุหรืออวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บ ขั้นตอนต่อไปคือการปฐมพยาบาล ณ ส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บนั่นเอง
โดยผู้ให้การปฐมพยาบาลจำเป็นจะต้องมีความรู้ มีทักษะ (่ผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ) เพราะหากเข้าช่วยเหลือทั้งๆที่ไม่มีความรู้ หรือไม่มีทักษะในการเข้าช่วย แทนที่จะทำให้ผู้บาดเจ็บรอดพ้นจากอันตราย กลับอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกับตัวผู้บาดเจ็บ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้บาดเจ็บในอนาคต
5. การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ
หลังจากให้การปฐมพยาบาลแก่ผู้บาดเจ็บแล้ว อาจจำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายผูู้บาดเจ็บ ไปไว้ยังจุดที่ปลอดภัย หรือเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บเพื่อส่งไปรักษาต่อยังสถานพยาบาล นักปฐมพยาบาลจำเป็นต้องคำนึงถึงท่าที่ใช้ในการเคลื่อนผู้บาดเจ็บด้วย เพราะหากให้การเคลื่อนที่ผิดวิธี อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อตัวผู้บาดเจ็บได้ตลอดเวลา ฉะนั้นทักษะเหล่านี้จำเป็นต้องการรับการเรียนรู้และฝึกฝนจึงจะเกิดความปลอดภัยต่อทั้งตัวผู้เข้าช่วยเหลือและผู้บาดเจ็บเอง
หมายเหตุ 2 :
- หากท่านผู้อ่านต้องการบทความ/ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในหัวข้ออื่นๆ
ท่านสามารถส่งเมล์มาได้ที่ siammtc@gmail.com
- บริษัทสยามเมดิคอลเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด 087-034-9000 , 088-892-5193 , 095-515-6086
ผู้ให้บริการฝึกอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลและการกู้ชีวิตเบื้องต้น
หากท่านต้องการทราบรายละเอียดและราคาเกี่ยวกับหลักสูตรดังกล่าวกรุณาติดต่อได้ที่
บริษัทสยามเมดิคอลเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด หรืออีเมล์ siammtc@gmail.com

สารพิษ / การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่ำไ้ด้รับสารพิษ


บริษัทสยาม เมดิคอล เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
ผู้ให้บริการอบรม

1. หลักสูตรการปฐมพยาบาลและปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
( First Aid And Basic Life Support )



2. หลักสูตรการปฐมพยาบาลขั้น 2 ( สูง ) ระยะเวลาอบรม 3 วัน
( First Aid Level 2 and Cardio Life Support with AED  )


หมายเหตุ 1 : เนื้อหาของบทความด้านล่างเกิดจากประสบการณ์จริง ของผู้เขียนทั้งในบทบาทของผู้ให้การรักษาพยาบาล ผู้พบเห็นในขณะที่ยังทำงานในตึกอุบัติเหต และบทบาทของวิทยากร ผู้เขียนจึงอยากนำเทคนิค ดังกล่าวมาถ่ายทอด เพื่อประโยชน์ต่อนักปฐมพยาบาลทุกคนที่มีส่วน ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ อีกทั้งยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับ
ผู้
บาดเจ็บ อันจะส่งผลให้ผู้บาดเจ็บสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวัน
ได้อย่างปกติ



การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่ำไ้ด้รับสารพิษ

สารพิษคืออะไร?
สารพิษ คือ สารที่เข้าสู่ร่างกายและทำให้เกิดพิษนั่นเอง


สารพิษ เข้าสู่ร่างกายได้กี่ทาง?

สารพิษเข้าสู่ร่างกายได้ 4 ทาง

1. ทางระบบทางเดินอาหาร อาจเกิดจากการเผลอรับประทานเข้าไป หรือจากความตั้งใจ
2. ทางระบบทางเดินหายใจ อาจเกิดจากสารระเหยที่รั่วไหลและระเหยออกมา
3. ทางระบบผิวหนัง จากการดูดซึมเข้าสู่ผิวหนัง

4. ทางการฉีด หรือถูกกัด / ต่อย

การออกฤทธิ์ของสารพิษ
1. ออกฤทธิ์กดประสาท รูม่านตาเล็กลง ปลุกไม่ตื่น หมดสติ
2. ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้เพ้อ หน้าแดง ตื่นเต้น ชีพจรเร็ว รูม่านตาขยาย
3. ออกฤทธิ์ กัดกร่อน และระคายเคือง เนื้อเยื่อของร่ายกายถูกทำลาย ปวดแสบ ปวดร้อน

อาการของผู้ที่ได้รับสารพิษ
1. อาการเล็กน้อย ตั้งแต่มีอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ

2. อาการปานกลาง คลื่นไส้ อาเจียน น้ำมูก น้ำตาไหล กล้ามเนื้อสั่น เกร็ง
3. อาการรุนแรง ท้องเสีย หายใจลำบาก หมดสติ ระบบหายใจ/ระบบไหลเวียนโลหิตหยุดทำงาน

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้บาดเจ็บที่ได้รับสารพิษ

สามารถให้การปฐมพยาบาลได้ 3 วิธีหลักๆ แล้วแต่สถานการณ์ ดังนี้

1. โดยการขจัดสารพิษออกจากร่างกายโดยตรง
2. โดยการเจือจางสารพิษนั้นลง
3. โดยการใช้สารดูดซึมเข้าช่วย


สารพิษเข้าสู่ร่างกายทางระบบทางเดินอาหาร จะทำอย่างไร?หากพบผู้บาดเจ็บได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายทางระบบทางเดินอาหาร คุณสามารถประยุกต์หลักการ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 3 ข้อด้านบนมาใช้ได้ทันที - ขจัดสารพิษออกโดยการทำใ้ห้ อาเจียน ด้วยการล้วงคอ หรือทานไข่ดิบประมาณ 2-3ฟอง
แต่ห้ามทำให้ผู้บาดเจ็บอาเจียนเด็ดขาด กรณีที่ทราบว่าสารพิษนั้นมีคุณสมบัติเป็นกรด - ด่าง เพราะจะ
จะทำให้สารพิษย้อนกลับมากัดซ้ำรอบสอง

- ทำให้สารพิษเจือจาง อาจให้ผู้บาดเจ็บดื่มน้ำ หรือนม อย่างน้อย 1-2 ลิตร
แต่ห้ามใช้วิธีเจือจางเด็ดขาด หากทราบว่าสารพิษดังกล่าวมีคุณสมบัติแตกตัวหรือทำปฏิกิิริยากับน้ำ
- การใช้สารดูดซึม ผู้บาดเจ็บที่อยู่ในโรงพยาบาล แพทย์อาจรักษาโดยการใช้สารดูดซึมเข้าช่วย เช่น
Activate Charcoal (ผงถ่าน )แปรรูปเป็นผง ผสมกับน้ำให้ผู้บาดเจ็บรับประทาน


สารพิษเข้าสู่ร่างกายทางระบบทางเดินหายใจ จะทำอย่างไร?
สิ่งที่ผู้เข้าช่วยเหลือต้องคำนึงเป็นอันดับแรกคือ ความปลอดภัยของผู้เข้าช่วยเอง หากผู้เข้าช่วยเหลือ
อยู่ในบริเวณที่ยังมีสารพิษรั่วไหลอยู่ ผู้เข้าช่วยต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันก่อนทุกครั้ง การเคลื่อนย้าย
ผู้บาดเจ็บให้เคลื่อนย้ายมาไว้ยังที่ที่ปลอดภัย อากาศถ่ายเทได้สะดวก และที่สำคัญต้องอยู่เหนือลม
ดูแลรักษาตามอาการ ให้อ๊อกซิเจน (หากมี ) ให้ได้ทั้งชนิด canula และ mask


สารพิษดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง จะทำอย่างไร?

การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่มีสารพิษที่ลักษณะเป็นผงฝุ่น
เกาะตาม ผม ผิวหนัง เสื้อผ้า ต่างๆ
ใช้หลักการปฐมพยาบาล 2 ข้อหลักด้านบนมาประยุกต์ใช้ได้โดยการขจัดออกและทำให้เจือจาง

แต่ที่สำคัญต้องจำStep หรือขั้นตอนในการช่วยเหลือให้ดี เพราะหากไม่ทำตามขั้นตอนอาจส่งผลให้
เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อผู้บาดเจ็บไ้ด้ การให้ความช่วยเหลือมีขั้นตอนดังนี้

1. ต้องถอดเสื้อผ้า ของผู้บาดเจ็บออกให้หมดก่อน เพราะอะำไร? เหตุผลเพราะสารพิษบางชนิดทำปฏิกิริยา
กัุบน้ำหากคุณใช้น้ำฉีดเข้าไปทันที อาจส่งผลให้สารพิษแตกตัวและกัดกร่อนผิวหนังของผู้บาดเจ็บได้
2. ขั้นตอนที่ 2 ก็ยังไม่ใช้น้ำอีีกเช่นกัน คุณต้องปัดสารเคมี ที่ติดอยู่ตามร่างกายของผู้บาดเจ็บออกให้ได้
มากที่สุด ด้วยหลักการและเหตุผลเดียวกับกับข้อแรก

3. ขั้นตอนที่ 3 ใช้น้ำจำนวนมากๆล้างทันที

การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่ได้รับสารพิษลักษณะเป็นของเหลวกระเด็นเข้าตา
ใช้หลักการทำให้สารพิษเจือจางลงเป็นหลัก ห้ามใช้วิธีการขจัดออกด้วยการเช็ดเด็ดขาด
เพราะอาจมีผลทำให้เนื้อเยื่อตาหลุดออกมา ให้ใช้วัสดุที่ดุดซึมได้ดีวางเบาๆบริเวณที่ได้รับสารพิษ
- การทำให้สารพิษเจือจางลงโดยการล้างตา แต่ต้องมีเทคนิคการล้างที่ถูกต้อง

  • ไม่ใช้วิธีการล้างตาด้วยถ้วยล้างตาเด็ดขาด เพราะการล้างด้วยน้ำจำนวนน้อย อาจจะเป็นสาเหตุทำให้สารพิษนั้นแพร่กระจายมากขึ้น
  • หากหลีกเลี่ยงได้ ไม่ควรใช้วิธีล้างตา ด้วยเครื่องล้างตาที่มีแรงดันน้ำสูงๆ เพราะอาจทำให้เนื้อเยื่อตาบางส่วนหลุดได้
  • การล้างตาที่ถูกต้อง บอกให้ผู้บาดเจ็บนอนตะแคงเอียงศีรษะและดวงตาด้านที่สัมผัสกับสารพิษลงล่าง เปิดเปลือกตาบน-ล่างของผู้บาดเจ็บ เทน้ำหรือน้ำยาล้างตาให้สัมผัสกับดั้งจมูกให้น้ำไหลผ่านดวงตาที่บาดเจ็บ ห้ามเทน้ำให้กระทบหรือสัมผัสกับดวงตาโดยตรง เพราะอาจทำให้เนื้อเยื่อตาหลุดได้


การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่ถูกวัสดุปักคาบริเวณดวงตา ( เศษหินเจียร เศษเหล็ก เป็นต้น )
ห้ามใช้วิธีการขจัดออกโดยการเขี่ยวัสดุเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เศษวัสดุฝังลึกลงไปอีก
การรักษาดังกล่าวอยู่นอกเหนือความสามารถที่นักปฐมพยาบาลเบื้องต้นจะทำได้ ให้เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ
ส่งโรงพยาบาล แต่ขณะทำการเคลื่อนย้าย ต้องป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อดวงตาผู้บาดเจ็บเพิ่มขึ้น
โดยการปิดดวงตาที่ได้รับการบาดเจ็บ การปิดดวงตาที่ถูกต้อง ให้ใช้กรวย
หรือแก้วปิดครอบไปที่ดวงตา ที่ได้รับการบาดเจ็บโดยไม่ให้โดนดวงตา และพันด้วยผ้ายืดหรือผ้าก๊อส การปิดตาต้องปิดทั้งสองข้าง
เพราะหากปิดเฉพาะด้านที่บาดเจ็บ ตาด้านที่ปกติยังคงเคลื่อนไหวอยู่ จะส่งผลให้ตาด้านที่เจ็บเคลื่อนไหว
ตามไปด้วย ห้ามใช้แผ่นปิดตา ( Eye pad ) หรือผ้าปิดทับไปที่่ดวงตาเด็ดขาดเพราะจะทำให้เศษเหล็กฝังลึก
ลงไปอีก


หมายเหตุ 2 :
- หากท่านผู้อ่านต้องการบทความ/ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในหัวข้ออื่นๆ
ท่านสามารถส่งเมล์มาได้ที่ siammtc@gmail.com
- บริษัทสยามเมดิคอลเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด 087-034-9000 , 088-892-5193 , 095-515-6086
ผู้ให้บริการฝึกอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลและการกู้ชีวิตเบื้องต้น
หากท่านต้องการทราบรายละเอียดและราคาเกี่ยวกับหลักสูตรดังกล่าวกรุณาติดต่อได้ที่
บริษัทสยามเมดิคอลเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด  หรืออีเมล์ siammtc@gmail.com