การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR 2015


บริษัทสยาม เมดิคอล เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
ผู้ให้บริการอบรม

1. หลักสูตรการปฐมพยาบาลและปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
( First Aid And Basic Life Support 2015 )



2. หลักสูตรการปฐมพยาบาลขั้น 2 ( สูง ) ระยะเวลาอบรม 3 วัน
( First Aid Level 2 and Cardio Life Support with AED  )

ติดต่อขอรับรายละเอียดหลักสูตรได้ทางอีเมล์ หรือโทรศัพท์ด้านล่าง
TEL : 087-034-9000 , 088-892-5193 , 095-515-6086 
EMAIL : siammtc@ gmail.com



ผู้เขียนอ้างอิงตาม American Heart Assosiation ( AHA ) Guidelines for Cardiopulmonary Resucsitation ( CPR ) and Emergency Cardiovascular Care ( ECC ) 2015


นี่คือห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล
Out-of-Hospital Cardiac Arrest
 
1. การตระหนักถึงภาวะฉุกเฉิน และแจ้งทีมช่วยชีวิต EMS ให้ทราบอย่างรวดเร็ว ( Early Access)
2. การเริ่มปฏิบัติการช่วยชีวตในทันที ( Early CPR ) ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้ถึง 2-3 เท่า
3. การให้การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าให้รวดเร็วที่สุด ( Early Defibrillation) ร่วมกับการทำ CPR ช่วยอัตราการรอดชีวิตสูงถึงร้อยละ 49-75
4. ให้ผู้บาดเจ็บได้รับปฎิบัติการช่วยชีวิตขั้นสูงโดยบุคลากรทางการแพทย์อย่างรวดเร็ว( Early ACLS )
5. ห้การรักษาผู้บาดเจ็บหลังที่หัวใจกลับมาเต้นอีกครั้ง

แต่หากคุณยังไม่ได้ให้ความช่วยเหลือหลังที่ผู้บาดเจ็บ Arrest พบว่าอัตราการรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บ โดยเฉพาะ ผู้ป่วยประเภท SCA จะลดลงร้อยละ 7-10 ทุกๆ 1 นาทีที่ผ่านไป

หากคุณต้องการทราบว่าผู้บาดเจ็บยังมีชีวิตอยู่หรือไ่ม่ ให้คุณเช็ค 3 ระบบของร่างกาย ก็เพียงพอแล้ว เพราะ ทั้ง 3 ระบบต้องทำงานประสานกันเสมอ ขาดรบบใดระบบหนึ่ง อีก 2ระบบก็จะหยุดตามไปด้วย นั่นคือ
1. ระบบประสาทหรือการตอบสนองของผู้บาดเจ็บ 2. ระบบการหายใจ 3.ระบบการไหลเวียนโลหิต


แต่ในเวอร์ชั่นล่าสุดปี 2015 ของ AHA ได้ทำการสลับขั้นตอนในการปฏิบัติการช่วยชีวิตขึ้นใหม่ อันจะเป็นการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นกระทันหันได้มากขึ้น นั่นคือ จากขั้นตอน ABC AHA แนะนำให้เปลี่ยนเป็น CAB โดยมุ่งความสำคัญไปที่การทำเลือดวิ่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายโดยเฉพาะสมองให้เร็วที่สุด

คำถาม : ทำไมต้องเปลี่ยนจาก ABC ไปเป็น CAB ซึ่งมักจะมีคำถามเกิดขึ้นตามมาเสมอ
ในฐานะของวิทยากร จะตอบแบบตรงไปตรงมาว่า
1. โดยปกติแล้ว คนเราสามารถกั้นหายใจได้ยาวนานเป็นนาที หรือบางคนอาจมากกว่านั้นด้วย โดยที่ไม่ทำให้สมองตาย เช่นเดียวกัน ผู้บาดเจ็บที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นกระทันหัน สมองก็สามารถขาดออกซิเจนได้นานเป็นนาทีเหมือนกัน AHA แนะนำว่าหากเรารีบช่วยชีวิตโดยการเริ่มจากการใช้ " C " ก่อน จะเป็นการเพิ่มอัตราการไหลเวียนโลหิตให้ไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้เร็วโดยเฉพาะสมอง และยังจะทำให้คลื่นการเต้นของหัวใจเต้นเป็นแบบ Venticular Fibrilltion ( VF )ได้มากขึ้น ซึ่งจะเพิ่มความสำเร็จอย่างมากในการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า ( Defibrillator ) หลังจากทำการปั๊มหัวใจไปแล้ว 30 ครั้ง( ประมาณ 18 วินาที ) แล้วจึงเริ่มใช้ " A " โดยการเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง และเริ่ม " B " อย่างต่อเนื่อง โดยการเป่าปาก 2 ครั้ง
2. ในสถานะการณ์ฉุกเฉิน เมื่อผู้ช่วยเหลือพบเจอผู้บาดเจ็บที่มีภาวะหัวใจหยุดเ่ต้นกระทันหัน มักจะทำอะไรไม่ค่อยถูก หรือบางครั้งอยากช่วยเหลือแต่ไม่กล้าเป่าปาก การปั๊มหัวใจเพียงอย่างเดียว เป็นการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้มากกว่าการไม่ทำอะไรเลย และทำได้ง่ายที่สุดในสามัญสำนึกของคนทั่วไป

2 คำตอบข้างบนนี้ น่าจะเป็นการอธิบายเหตุผลได้ไม่มากก็น้อย สำหรับผู้ที่มีคำถาม


ต่อไปเมื่อคุณพบเจอผู้บาดเจ็บหมดสติ ให้ท่องและปฏิบัติตาม " RABC technique"
1. R ( Response ) คือการเช็คการตอบสนองของผู้บาดเจ็บ ( Check of Response ) โดยการใช้มือทั้ง 2 ข้างจับบริเวณหัวไหล่ของผู้บาดเจ็บเขย่าหรือตบให้แรงพอควร ขณะเดียวกันให้ก้มปากผู้ช่วยเหลือให้เกือบชิดหูผู้บาดเจ็บพร้อมเรียกผู้บาดเจ็บดังๆ หากผู้บาดเจ็บไม่ตอบสนอง แสดงว่าระบบประสาทของผู้บาดเจ็บผิดปกติ
ให้ผู้ช่วยเหลือ โทรหรือเรียกขอความช่วยเหลือให้เร็วที่สุด ตามห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิตที่ AHA แนะนำไว้เพราะถ้าทีมช่่วยเหลือมาถึงเร็วเท่าใด โอกาสการรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บก็เพิ่ม

Check Response

2. A ( Air way ) เมื่อผู้บาดเจ็บหมดสติ กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายจะคลายตัว เป็นเหตุให้ลิ้นมีโอกาสเคลื่อนต่ำไปอุดหลอดลมทำให้ผู้บาดเจ็บหายใจไม่ได้ ฉะนั้นหลังจากที่ผู้ช่วยเหลือปั๊มหัวใจเสร็จแล้ว ให้ทำการเปิดทางเดินหายใจผู้บาดเจ็บทันที โดยการใช้เทคนิคที่เรียกว่า ท่ากดหน้าผากและเชยคาง ( Head tilt Chin lift ) โดย การใช้สันมือด้านที่อยู่ใกล้กับศรีษะผู้บาดเจ็บวางบนหน้าผากผู้บาดเจ็บพร้อม กับกดหน้าผาก และใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกด้านจับที่กระดูกขากรรไกร โดยหลีกเลี่ยงการกดที่ก้อนเนื้อใต้คางโดยตรงเชยคางผู้บาดเจ็บ จะทำให้ลิ้นที่อุดหลอดลมถูกดึงกลับมาอยู่ตำแหน่งเดิม ทำให้ทางเดินหายใจเปิดโล่งได้ทันที ยกเว้นกรณีที่รู้แน่นอนว่าผู้บาดเจ็บมีการบาดเจ็บบริเวณคอจะไม่ใช้ท่าดังกล่าว
 
 
3. B ( Breathing ) ให้ทำการเช็คลมหายใจ ว่าผู้บาดเจ็บยังหายใจอยู่หรือไม่ โดยการใช้เทคนิคที่เรียกว่า look listen and feel  ให้ก้มหน้าเกือบชิดปากและจมูกผู้บาดเจ็บ ตามองหน้าอกดูการเคลื่อนไหว หูฟังเสียงลมหายใจ และแก้มแนบที่ปากและจมูกผู้บาดเจ็บเพื่อรับสมผัสลมหายใจ
 
4. C ( Circulation  ) ขณะที่เช็คลมหายใจอยู่ ให้ผู้ช่วยเหลือทำการตรวจเช็คชีพจรที่บริเวณคอทันที ( แม้ในตำราแนะนำว่าประชาชนทั่วไปไม่ต้องทำการเช็คชีพจร เพราะอาจเกิดความผิดพลาดได้ ) แต่ผมเห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะใช้วินิจฉัยเบื้องต้นได้ว่าผู้บาดเจ็บยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เมื่อผู้ช่วยเหลือทำการเช็คชีพจรและไม่พบการเต้นของชีพจร ให้ผู้ช่วยเหลือทำการปั๊มหัวใจทันที    ( Compression ) โดยหาตำแหน่งที่ใช้ในการปั๊ม หากเป็นประชาชนทั่วไปแนะนำให้ผู้ช่วยเหลือจินตนาการวาดเส้นตรงระหว่างราวนมของผู้บาดเจ็บ เส้นตรงดังกล่าวตัดกับเส้นแนวกึ่งกลางหน้าอกตรงไหน ให้้ใช้จุดดังกล่าวนั้นเป็นตำแหน่งที่จะวางส้นมือลงไปให้ขนานกับแนวกึ่งกลางหน้าอก นำมืออีกด้านมาประกบ ประสานนิ้ว และทำการล็อคนิ้ว กระดกข้อมือขึ้น โดยให้ส้นมือสัมผัสกับผนังหน้าอกเท่านั้น แขนตรึง โน้มตัวมาให้แนวแขนตั้งฉากกับผนังหน้าอกของผู้บาดเจ็บ พร้อมกับกดลงไปโดยใช้แรงจากหัวไหล่ จุดหมุนอยู่ตรงสะโพก แขนตรึงเสมอ กดให้หน้าอกยุบลงไปอย่างน้อย 2 นิ้ว( 5 ซม. ) แต่ไม่เกิน 2.4นิ้ว( 6 ซม.) ใ้นผู้ใหญ่ กดหน้าอก 30 ครั้ง โดยหลังการกดแต่ละครั้งต้องปล่อยให้หน้าอกยกตัวขึ้นสุดก่อนที่กดครั้งต่อไป โดยที่ส้นมือไม่หลุดออกจากผนังหน้าอก กดหน้าอกแบบเร็วและแรงตามที่กำหนด ( push hard and push fast ) ด้วยอัตราอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาทีแต่ไม่เกิน 120  ( AHA 2015 )จากนั้นให้ผู้ช่วยเหลือทำการเป่าปากผู้บาดเจ็บ 2 ครั้ง โดยจัดผู้บาดเจ็บให้อยู่ในท่ากดหน้าผากและเชยคางเช่นเดิม ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือที่วางบนหน้าผากบีบจมูกผู้บาดเจ็บ สูดลมหายใจเข้า วางปากผู้ช่วยเหลือครอบปากผู้บาดเจ็บ แนบให้สนิท และเป่าลมเข้าไป โดยการเป่าแต่ละครั้งให้ยาวประมาณ 1 - 2 วินาที จนเห็นหน้าอกผู้บาดเจ็บยกตัวขึ้น พร้อมกับปล่อยให้หน้าอกผู้บาดเจ็บยุบลงมาอยู่ตำแหน่งเดิมก่อนที่จะเป่าครั้งที 2


Check pulse and Compression







หนึ่งวงรอบของการช่วยชีวิตประกอบด้วย การปั๊มหน้าอกผู้บาดเจ็บ 30 ครั้ง และเป่าปาก 2 ครั้ง คุณต้องทำอย่างนี้ทั้งหมด 5 รอบ ( ประมาณ 2 นาที ) จึงจะหยุดประเมินผู้บาดเจ็บ 1 ครั้ง ( หากต้องการประเมิน ) หรือทำต่อไปจนกว่าจะพบว่าผู้บาดเจ็บมีการขยับตัว /มีการหายใจ / มีชีพจร หรือมีเครื่องช็อคไฟฟ้ามาถึง หรือบุคคลากรทางการแพทย์มารับช่วงต่อ เราจึงจะหยุดได้ ( หยุดให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ minimizing interrupted )


กรณีที่ผู้ช่วยเหลือพบผู้บาดเจ็บล้มต่อหน้า หยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น หากต้องการช่วยเหลือแต่ไม่เคยได้รับการอบรมมาก่อน หรือต้องการช่วยเหลือแต่ไม่กล้าเป่าปาก ควรโทรเรียกความช่วยให้เร็วที่สุด ผู้ช่วยเหลือสามารถทำการปั๊มหัวใจอย่างเดียวได้จนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง ( Hands- only CPR ) ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสำเร็จได้มากกว่าการไม่ได้ทำอะไรเลย

ท่านสามารถอ่านบทความ Highlights of 2015 Guidelines Update for CPR and ECC ได้ใน web นี้

หมายเหตุ :
 
บริษัทสยามเมดิคอลเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด 

087-034-9000 , 088-892-5193, 095-515-6086
ผู้ให้บริการฝึกอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลและการกู้ชีวิตเบื้องต้น 2015

 
หากท่านต้องการทราบรายละเอียดและราคาเกี่ยวกับหลักสูตรดังกล่าวติดต่อได้ทางอีเมล์และโทรศัพท์ด้านล่าง
อีเมล์  siammtc@gmail.com
Tel : 095-515-6086 , 087-034-9000 , 088-892-5193