ปฏิบัติการช่วยชีวิต เวอร์ชั่น 2015 ( CPR 2015 )



  สรุปแนวทางปฏิบัติการช่วยชีวิตปี ค.ศ.2015

ตาม guidelines American Heart Association, The Heart Association of Thailand และ Thai Resuscitation Council

  •   แนวทางการช่วยฟื้นคืนชีพปี 2015 ได้มีการปรับปรุงระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น โดยแบ่งเป็น ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นในโรงพยาบาล (In-hospital cardiac arrest ; IHCAs) และผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล (Out-of-hospital cardiac arrests ; OHCAs )โดยแบ่งห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิตเป็น 2 ห่วงโซ่ดังนี้ 

     

    เป็นห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิตในโรงพยาบาลโดยจะเน้นที่การเฝ้าระวังของบุคลากรทางการแพทย์ก่อนที่ผู้ป่วยจะเกิดภาวะวิกฤต ระบบการดูแลจะขึ้นอยู่กับการประสานงานของหน่วยงานของหน่วยงานในโรงพยาบาล


    เป็นห่วงโซ่แห่งรอดชีวิตนอกโรงพยาบาล เน้นการพึ่งพาชุมชนและผู้เห็นเหตุการณ์ขณะนั้น ให้เริ่มทำการช่วยชีวิต รวมถึงการใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าที่มีในสถานที่สาธารณะ


    ในบทความนี้ขอกล่าวเฉพาะห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิตนอกโรงพยาบาลที่เน้นให้ผู้เห็นเหตุการณ์เริ่มปฏิบัติการฟื้นคืนชีพให้เร็วที่สุด 

    ก่อนอื่นอยากให้ผู้อ่านรู้จักคำศัพท์เหล่านี้ก่อน

    Untrained Lay Rescuer คือประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้รับการฝึกอบรม CPR

    Trained Lay Rescuer คือประชาชนที่ได้รับการฝึกอบรม CPR

    Emergency Dispatcher คือหน่วยงานที่รับเรื่อง หรือรับแจ้งเหตุ ในประเทศไทยคือสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน 1669

    ทำไมผู้อ่านต้องรู้จักคำเหล่านี้ เพราะบุคลากรเหล่านี้คือหัวใจสำคัญในการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล ท่านจะเห็นว่า 3 ห่วงโซ่แรก เป็นหน้าที่หลักของ lay rescuer โดยมี dispatcher เป็นผู้ให้คำแนะนำทางโทรศัพท์รวมทั้งเป็นผู้ประสานงานกับศูนย์ EMS และแจ้งสถานที่เก็บเครื่อง AED รวมถึงการใช้เครื่องช็อกไฟฟ้า การเข้าถึงการใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าของ lay rescuer ต้องเร็วที่สุด เพราะนั่นหมายถึงการรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บจะมีสูงขึ้นทันที

    เวอร์ชั่น 2015 เน้นเรื่องคุณภาพการช่วยชีวิตเป็นอย่างมาก ( Quality CPR )ด้วย 4 คำนี้ คือ

    Rate : อัตราการปั๊มหัวใจ เปลี่ยนจากอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที่ เปลี่ยนเป็นปั๊มอย่างน้อย 100 แต่ไม่ควรเกิน 120 ครั้งต่อนาที 

    Depth : การปั๊มในแต่ละครั้ง เปลี่ยนจากการปั๊มให้ลึกอย่างน้อย 5 ซม.( 2 นิ้ว ) เป็นปั๊มให้ลึกอย่างน้อย 5 ซม.แต่ไม่ควรลึกเกิน 6 ซม.( 2.4 นิ้ว )

    Recoil : ต้องไม่พักมือหรือปล่อยน้ำหนักไว้บนหน้าอกผู่้บาดเจ็บก่อนการปั๊มในครั้งต่อไป ต้องปล่อยให้หน้าอกยกตัวขึ้นสุดก่อนกดในครั้งต่อไปนั้นเอง

    Position : ตำแหน่งในการวางมือของการปั๊มต้องวางมือตรงส่วนล่างของกระดูกหน้าอก ( lower half of sternum bone ) 

    นอกจากนั้น ต้องหยุดกดหน้าอกให้น้อยที่สุด  เพื่อเพิ่มจำนวนครั้งของการกดหน้าอกให้ได้สูงที่สุด การรบกวนการกดหน้าอกควรเกิดขึ้นแค่ในช่วของการวิเคราะห์ดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือการช่วยหายใจเท่านั้น ค่า Chest compression fraction หรือสัดส่วนช่วงเวลาการกดหน้าอกเทียบกับช่วงเวลาในการทำ CPR ทั้งหมด ควรต้องมีค่ามากกว่า 60 

    เวอร์ชัน2015เน้นการเข้าถึงเครื่อง AED(Automated External Defibrillator)ให้เร็วที่สุด จึงมีการเปลี่ยนชื่อจาก AED เป็น PAD (Public access Defibrillator) เพื่อสร้างความรู้สึกให้กับประชาชนว่าเครื่องดังกล่าวสามารถใช้ได้แม้ประชาชนที่ไม่เคยได้รับการฝึกการใช้เครื่องมาก่อน  

    กระบวนการการช่วยชีวิตของ lay rescuer ค.ศ. 2015  

    1. ก่อนเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ต้องประเมินสถานะการณ์ความปลอดภัย ก่อนเสมอ

    2. จากนั้นทำการประเมินความรู้สึกตัวของผู้บาดเจ็บ หากพ่าหมดสติ ให้ร้องขอความช่วยเหลือจากุคคลข้างเคียง หรือ โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือ 1669 หากมีเครื่อง AED อยู่กล้ให้วิ่งไปหยิบมาก่อน หรือวานให้่บุคลใกล้เคียงไปหยิบมา  

    3. ทำการเช็คการหายใจและชีพจร ภายในเวลา 10 วินาที หากพบว่าหยุดหายใจ หรือมีภาวะหายใจเฮือก ( gasping ) ให้เริ่มกระบวนช่วยฟื้นคืนชีพทันที

    4. โดยเริ่มจากการปั๊มหัวใจ 30 ครั้ง สลับกับการเป่าปาก 2 ครั้ง ต่อเนื่องจนกว่าจะมีมีทีม EMS หรือเครื่องช็อกไฟฟ้ามาถึง

    5. หากมีเครื่องช็อกไฟฟ้ามาถึง ให้รีบเปิดระบบใช้งานทันที 

    6. ปล่อยให้เครื่องช็อคไฟฟ้าวิเคราะห์คลื่นหัวใจ หากพบว่าเป็นคลื่นไฟฟ้าที่สามารถช็อกได้ให้ทำการกดช็อกทันที และทำการ CPR ต่อจนครบ 2 นาที หยุดให้เครื่องช็อกไฟฟ้าอีกครั้ง

    7. กรณีที่เครื่องช็อคไฟฟ้าไม่พบคลื่นที่สามารถช็อกได้ ให้ทำการ CPR ต่อจนครบ 2 นาทีเช่นกันแล้วจึงหยุดให้เครื่องวิเคราะห์คลื่นหัวใจอีกครั้ง

    8. ทำการ CPR อย่างต่อเนื่องจนกว่าทีม EMS จะมาถึง

    ดัง Flow Chart CPR ด้านล่าง

    CPR Algorithm 2015  

     

    ............................................................

    SIAM MEDICAL TRAINING CENTER.CO.,LTD.

     TEL :087-034-9000 , 088-892-5193 , 095-515-6086 

    ติดต่อขอรับรายละเอียด
    หลักสูตรการปฐมพยาบาลและปฏิบัติการกู้ชีวิตขั้นพื้นฐาน 2015
    ทางอีเมล์ siammtc@gmail.com



      

     

     

     

     

     

     

Picture for Practice

 





หมายเหตุ :
- หากท่านผู้อ่านต้องการบทความ/ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในหัวข้ออื่นๆ
ท่านสามารถส่งเมล์มาได้ที่ siammtc@gmail.com
- บริษัทสยามเมดิคอลเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด
ผู้ให้บริการฝึกอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลและการกู้ชีวิตเบื้องต้น , หลักสูตรการปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตขั้น 2 ( สูง )
หากท่านต้องการทราบรายละเอียดและราคาเกี่ยวกับหลักสูตรดังกล่าวกรุณาติดต่อได้ที่
บริษัทสยามเมดิคอลเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด หรืออีเมล์ siammtc@gmail.com


การประเมินความรุนแรงผู้บาดเจ็บที่มีภาวะกระดูกหัก


บริษัทสยาม เมดิคอล เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
ผู้ให้บริการอบรม
 
1. หลักสูตรการปฐมพยาบาลและปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
( First Aid And Basic Life Support )


2. หลักสูตรการปฐมพยาบาลขั้น 2 ( สูง ) ระยะเวลาอบรม 3 วัน
( First Aid Level 2 and Cardio Life Support with AED )

ติดต่อขอรับรายละเอียดหลักสูตรดังกล่างได้ทางอีเมล์ หรือ โทรศัพท์ ตามด้านล่าง

TEL : 087-034-9000 , 088-892-5193 , 095-515-6086  EMAIL : siammtc@ gmail.com

* จากบทความครั้งก่อนเรื่องการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่มีภาวะกระดูกหัก ที่ผมได้เขียนไว้ ต้องขอบพระคุณบุคลากรหลายท่านที่ให้ความสนใจในบทความดังกล่าว หลายท่าน ส่งคำถามมายังเมล์ของบริษัท( siammtc@gmail.com ) สอบถามเรื่องการประเมินความรุนแรงของการบาดเจ็บเมื่อมีกระดูกหัก จริงแล้วบทความที่ผมได้เขียนลงในblog นี้ เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาหลักสูตรการปฐมพยาบาลและปฏิบัติช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานที่ผมได้สอนให้กับบุคลากรที่เข้าอบรม ขอขอบพระคุณ Web Master และเจ้าของBlog ที่สละพื้นนี้ให้ผมและบริษัทได้เป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันความรู้ให้กับบุคลากรที่สนใจในเรื่องการปฐมพยาบาล ผมขออนุญาตเขียนเพิ่มเติมต่อจากบทความครั้งก่อน
การประเมินความรุนแรงผู้บาดเจ็บที่มีภาวะกระดูกหัก
จากบทความครั้งก่อนเรื่องการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่มีภาวะกระดูกหัก เราแบ่งชนิดของการหักของกระดูกเป็น 2 ชนิด คือ หักแบบเปิด และหักแบบปิด ซึ่งขอไม่กล่าวในบทความนี้ สิ่งที่หลายท่านสนใจและเกิดคำถามตามมาคือ แล้วกระดูกที่หักนั้นมีความรุนแรงแค่ไหน หากเราต้องการประเมินความรุนแรงของการหักในครั้งนั้นให้เราใช้เทคนิคการประเมินที่เรียกว่า " LAF "
Type of Fracture

LAF


" LAF " เป็นคำย่อที่เราจะนำมาใช้ทุกครั้งเพื่อประเมินความรุนแรงของการหักและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับอวัยวะข้างเคียง ซึ่งย่อมาจาก

" L " หมายถึง " LO
OK " ให้ผู้ช่วยเหลือประเมินโดยการสำรวจหรือสังเกตอวัยวะส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บหรือหัก ว่าลักษณะอย่างไร เช่น ชนิดของการหัก เปิด หรือ ปิด การผิดรูป โค้งงอ การบวม ลักษณะของแผล มีเลือดไหลแบบ Active Bleeding หรือไม่ การเปรียบเทียบอวัยวะด้านที่ได้รับการบาดเจ็บกับด้านที่ปกติ เป็นต้น
Deformity

" A " หมายถึง " ASK " กรณีที่ผู้บาดเจ็บยังมีสติอยู่ ให้ผู้ช่วยเหลือสอบถามอาการโดยตรงกับผู้บาดเจ็บ เกี่ยวกับการเจ็บปวด ลักษณะของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงกับอวัยวะส่วนอื่นได้อีก
" F " หมายถึง " FEEL " สอบถามอาการเจ็บปวด ความรู้สึก อาการชา ซึ่งอาจหมายถึงระบบประสาทสั่งการส่วนนั้นได้รับการบาดเจ็บร่วมด้วย
นอกจากการใช้เทคนิค LAF อย่างที่กล่าวมาแล้ว ท่านจำเป็นจะต้องมีการประเิมินการบาดเจ็บของระบบในร่างกายอีกสองระบบ คือระบบไหลเวียนโลหิต และระบบประสาท ว่าทั้งสองระบบดังกล่าวได้รับผลกระทบจากการหักของกระดูกด้วยหรือไม่ โดยการใช้ เทคนิคตัวย่อที่เรียกว่า " CSM "

CSM

" C " หมายถึง " Circulation " ผู้ช่วยเหลือตรวจเช็ค ระบบไหลเวียนโลหิตที่ไหลมาเลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย ที่อยู่ต่ำกว่าส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บว่ายังมีเลือดไหลมาเลี้ยงพอหรือไม่ โดยเช็คได้สองวิธีดังนี้
1. เช็คที่เส้นเลือดแดงใหญ่ เช่นหากมีการ
หักของกระดูกบริเวณแขน ให้เช็คระบบการไหลเวียนโลหิตบริเวณ ข้อมือ ( Radial Artery ) บริเวณข้อพับแขน ( Brachial Artery ), หากหักบริเวณขา ให้เช็ึึคบริเวณหลังเท้า ใกล้กับบริเวณข้อเท้า ( Dorsalis pedis ) , บริเวณข้อพับเข่า ( Popliteal Artery ) เป็นต้น หากคลำแล้วยังพบว่ามีการเต้นของชีพจรอยู่ แสดงว่ายังมีเลือดวิ่งมาเลี้ยงบริเวณส่วนปลายอยู่
2. เช็คบริเวณปลายเล็บ โดยการกด ที่ปลายเล็บของอวัยวะด้านที่ได้รับการบาดเจ็บ ซึ่งเมื่อกดสีเล็บบริเวณดังกล่าวจะซีดลง และให้ปล่อย สีของเ
ล็บที่ถูกกดและปล่อย จะีต้องกลับมาเป็นสีชมพูเช่นเดิมภายในเวลาประมาณ 2 วินาที หากสีชมพูกลับมาช้ากว่าเวลาที่กำหนด แสดงว่าระบบไหลเวียนโลหิตที่ส่งเลือดมาเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายได้รับผลกระทบ

" S " หมายถึง " Sensation " เป็นการเช็คระบบประสาท การรับความรู้สึกของอวัยวะส่วนปลายที่อยู่ต่ำกว่าส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บ โดยการ สัมผัสเบาๆบริเวณ นิ้วมือ นิ้วเท้า และให้ผู้บาดเจ็บตอบ หากผู้บาดเจ็บไม่มีความรู้สึก รู้สึกลดลง หรือชาบริเวณดังกล่าว แสดงว่าระบบการรับรู้ส่วนนั้นเสียไป หรือถูกทำลาย

" M " หมายถึง " Movement " เป็นการเช็คการสั่งการของระบบประสาทที่ทำหน้าควบคุมอวัยวะส่วนปลายที่อยู่ต่ำกว่าส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บ โดยบอกให้ผู้บาดเจ็บลองกระดกข้อมือ ข้อเท้า ดู ถ้าไม่สามารถทำได้ตามปกติ อาจหมายถึงระบบประสาทได้รับผลกระทบหรือถูกทำลายนั่นเอง

การประเมินระบบไหลเวียนโลหิตและระบบประสาท เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญอย่างมาก เพื่อให้ทราบความรุนแรงที่เกิดขึ้นอวัยวะที่หักและอวัยวะที่อยู่ข้างเคียง เป็นการประเมินความเร่งด่วนที่ต้องให้ความช่วยเหลือหรือเคลื่อนย้ายนำส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว หลังจากประเมินความรุนแรงของอวัยวะส่วนที่หักได้แล้ว ลำดับต่อไปที่นักปฐมพยาบาลต้องปฎิบัติต่อคือการทำให้ส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บอยู่นิ่ง โดยการดาม ( Splint ) ซึ่งเป็นบทความที่ผมได้เขียนไว้ก่อนหน้านี้แล้ว


หมายเหตุ :
- หากท่านผู้อ่านต้องการบทความ/ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในหัวข้ออื่นๆ
ท่านสามารถส่งเมล์มาได้ที่ siammtc@gmail.com
- บริษัทสยามเมดิคอลเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด
ผู้ให้บริการฝึกอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลและการกู้ชีวิตเบื้องต้น
หากท่านต้องการทราบรายละเอียดและราคาเกี่ยวกับหลักสูตรดังกล่าวกรุณาติดต่อได้ที่
บริษัทสยามเมดิคอลเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด 087-034-9000 , 088-892-5193 , 095-515-6086 หรือทางอีเมล์ siammtc@gmail.com

การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR 2015


บริษัทสยาม เมดิคอล เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
ผู้ให้บริการอบรม

1. หลักสูตรการปฐมพยาบาลและปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
( First Aid And Basic Life Support 2015 )



2. หลักสูตรการปฐมพยาบาลขั้น 2 ( สูง ) ระยะเวลาอบรม 3 วัน
( First Aid Level 2 and Cardio Life Support with AED  )

ติดต่อขอรับรายละเอียดหลักสูตรได้ทางอีเมล์ หรือโทรศัพท์ด้านล่าง
TEL : 087-034-9000 , 088-892-5193 , 095-515-6086 
EMAIL : siammtc@ gmail.com



ผู้เขียนอ้างอิงตาม American Heart Assosiation ( AHA ) Guidelines for Cardiopulmonary Resucsitation ( CPR ) and Emergency Cardiovascular Care ( ECC ) 2015


นี่คือห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล
Out-of-Hospital Cardiac Arrest
 
1. การตระหนักถึงภาวะฉุกเฉิน และแจ้งทีมช่วยชีวิต EMS ให้ทราบอย่างรวดเร็ว ( Early Access)
2. การเริ่มปฏิบัติการช่วยชีวตในทันที ( Early CPR ) ช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้ถึง 2-3 เท่า
3. การให้การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าให้รวดเร็วที่สุด ( Early Defibrillation) ร่วมกับการทำ CPR ช่วยอัตราการรอดชีวิตสูงถึงร้อยละ 49-75
4. ให้ผู้บาดเจ็บได้รับปฎิบัติการช่วยชีวิตขั้นสูงโดยบุคลากรทางการแพทย์อย่างรวดเร็ว( Early ACLS )
5. ห้การรักษาผู้บาดเจ็บหลังที่หัวใจกลับมาเต้นอีกครั้ง

แต่หากคุณยังไม่ได้ให้ความช่วยเหลือหลังที่ผู้บาดเจ็บ Arrest พบว่าอัตราการรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บ โดยเฉพาะ ผู้ป่วยประเภท SCA จะลดลงร้อยละ 7-10 ทุกๆ 1 นาทีที่ผ่านไป

หากคุณต้องการทราบว่าผู้บาดเจ็บยังมีชีวิตอยู่หรือไ่ม่ ให้คุณเช็ค 3 ระบบของร่างกาย ก็เพียงพอแล้ว เพราะ ทั้ง 3 ระบบต้องทำงานประสานกันเสมอ ขาดรบบใดระบบหนึ่ง อีก 2ระบบก็จะหยุดตามไปด้วย นั่นคือ
1. ระบบประสาทหรือการตอบสนองของผู้บาดเจ็บ 2. ระบบการหายใจ 3.ระบบการไหลเวียนโลหิต


แต่ในเวอร์ชั่นล่าสุดปี 2015 ของ AHA ได้ทำการสลับขั้นตอนในการปฏิบัติการช่วยชีวิตขึ้นใหม่ อันจะเป็นการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นกระทันหันได้มากขึ้น นั่นคือ จากขั้นตอน ABC AHA แนะนำให้เปลี่ยนเป็น CAB โดยมุ่งความสำคัญไปที่การทำเลือดวิ่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายโดยเฉพาะสมองให้เร็วที่สุด

คำถาม : ทำไมต้องเปลี่ยนจาก ABC ไปเป็น CAB ซึ่งมักจะมีคำถามเกิดขึ้นตามมาเสมอ
ในฐานะของวิทยากร จะตอบแบบตรงไปตรงมาว่า
1. โดยปกติแล้ว คนเราสามารถกั้นหายใจได้ยาวนานเป็นนาที หรือบางคนอาจมากกว่านั้นด้วย โดยที่ไม่ทำให้สมองตาย เช่นเดียวกัน ผู้บาดเจ็บที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นกระทันหัน สมองก็สามารถขาดออกซิเจนได้นานเป็นนาทีเหมือนกัน AHA แนะนำว่าหากเรารีบช่วยชีวิตโดยการเริ่มจากการใช้ " C " ก่อน จะเป็นการเพิ่มอัตราการไหลเวียนโลหิตให้ไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้เร็วโดยเฉพาะสมอง และยังจะทำให้คลื่นการเต้นของหัวใจเต้นเป็นแบบ Venticular Fibrilltion ( VF )ได้มากขึ้น ซึ่งจะเพิ่มความสำเร็จอย่างมากในการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า ( Defibrillator ) หลังจากทำการปั๊มหัวใจไปแล้ว 30 ครั้ง( ประมาณ 18 วินาที ) แล้วจึงเริ่มใช้ " A " โดยการเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง และเริ่ม " B " อย่างต่อเนื่อง โดยการเป่าปาก 2 ครั้ง
2. ในสถานะการณ์ฉุกเฉิน เมื่อผู้ช่วยเหลือพบเจอผู้บาดเจ็บที่มีภาวะหัวใจหยุดเ่ต้นกระทันหัน มักจะทำอะไรไม่ค่อยถูก หรือบางครั้งอยากช่วยเหลือแต่ไม่กล้าเป่าปาก การปั๊มหัวใจเพียงอย่างเดียว เป็นการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้มากกว่าการไม่ทำอะไรเลย และทำได้ง่ายที่สุดในสามัญสำนึกของคนทั่วไป

2 คำตอบข้างบนนี้ น่าจะเป็นการอธิบายเหตุผลได้ไม่มากก็น้อย สำหรับผู้ที่มีคำถาม


ต่อไปเมื่อคุณพบเจอผู้บาดเจ็บหมดสติ ให้ท่องและปฏิบัติตาม " RABC technique"
1. R ( Response ) คือการเช็คการตอบสนองของผู้บาดเจ็บ ( Check of Response ) โดยการใช้มือทั้ง 2 ข้างจับบริเวณหัวไหล่ของผู้บาดเจ็บเขย่าหรือตบให้แรงพอควร ขณะเดียวกันให้ก้มปากผู้ช่วยเหลือให้เกือบชิดหูผู้บาดเจ็บพร้อมเรียกผู้บาดเจ็บดังๆ หากผู้บาดเจ็บไม่ตอบสนอง แสดงว่าระบบประสาทของผู้บาดเจ็บผิดปกติ
ให้ผู้ช่วยเหลือ โทรหรือเรียกขอความช่วยเหลือให้เร็วที่สุด ตามห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิตที่ AHA แนะนำไว้เพราะถ้าทีมช่่วยเหลือมาถึงเร็วเท่าใด โอกาสการรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บก็เพิ่ม

Check Response

2. A ( Air way ) เมื่อผู้บาดเจ็บหมดสติ กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายจะคลายตัว เป็นเหตุให้ลิ้นมีโอกาสเคลื่อนต่ำไปอุดหลอดลมทำให้ผู้บาดเจ็บหายใจไม่ได้ ฉะนั้นหลังจากที่ผู้ช่วยเหลือปั๊มหัวใจเสร็จแล้ว ให้ทำการเปิดทางเดินหายใจผู้บาดเจ็บทันที โดยการใช้เทคนิคที่เรียกว่า ท่ากดหน้าผากและเชยคาง ( Head tilt Chin lift ) โดย การใช้สันมือด้านที่อยู่ใกล้กับศรีษะผู้บาดเจ็บวางบนหน้าผากผู้บาดเจ็บพร้อม กับกดหน้าผาก และใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกด้านจับที่กระดูกขากรรไกร โดยหลีกเลี่ยงการกดที่ก้อนเนื้อใต้คางโดยตรงเชยคางผู้บาดเจ็บ จะทำให้ลิ้นที่อุดหลอดลมถูกดึงกลับมาอยู่ตำแหน่งเดิม ทำให้ทางเดินหายใจเปิดโล่งได้ทันที ยกเว้นกรณีที่รู้แน่นอนว่าผู้บาดเจ็บมีการบาดเจ็บบริเวณคอจะไม่ใช้ท่าดังกล่าว
 
 
3. B ( Breathing ) ให้ทำการเช็คลมหายใจ ว่าผู้บาดเจ็บยังหายใจอยู่หรือไม่ โดยการใช้เทคนิคที่เรียกว่า look listen and feel  ให้ก้มหน้าเกือบชิดปากและจมูกผู้บาดเจ็บ ตามองหน้าอกดูการเคลื่อนไหว หูฟังเสียงลมหายใจ และแก้มแนบที่ปากและจมูกผู้บาดเจ็บเพื่อรับสมผัสลมหายใจ
 
4. C ( Circulation  ) ขณะที่เช็คลมหายใจอยู่ ให้ผู้ช่วยเหลือทำการตรวจเช็คชีพจรที่บริเวณคอทันที ( แม้ในตำราแนะนำว่าประชาชนทั่วไปไม่ต้องทำการเช็คชีพจร เพราะอาจเกิดความผิดพลาดได้ ) แต่ผมเห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะใช้วินิจฉัยเบื้องต้นได้ว่าผู้บาดเจ็บยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ เมื่อผู้ช่วยเหลือทำการเช็คชีพจรและไม่พบการเต้นของชีพจร ให้ผู้ช่วยเหลือทำการปั๊มหัวใจทันที    ( Compression ) โดยหาตำแหน่งที่ใช้ในการปั๊ม หากเป็นประชาชนทั่วไปแนะนำให้ผู้ช่วยเหลือจินตนาการวาดเส้นตรงระหว่างราวนมของผู้บาดเจ็บ เส้นตรงดังกล่าวตัดกับเส้นแนวกึ่งกลางหน้าอกตรงไหน ให้้ใช้จุดดังกล่าวนั้นเป็นตำแหน่งที่จะวางส้นมือลงไปให้ขนานกับแนวกึ่งกลางหน้าอก นำมืออีกด้านมาประกบ ประสานนิ้ว และทำการล็อคนิ้ว กระดกข้อมือขึ้น โดยให้ส้นมือสัมผัสกับผนังหน้าอกเท่านั้น แขนตรึง โน้มตัวมาให้แนวแขนตั้งฉากกับผนังหน้าอกของผู้บาดเจ็บ พร้อมกับกดลงไปโดยใช้แรงจากหัวไหล่ จุดหมุนอยู่ตรงสะโพก แขนตรึงเสมอ กดให้หน้าอกยุบลงไปอย่างน้อย 2 นิ้ว( 5 ซม. ) แต่ไม่เกิน 2.4นิ้ว( 6 ซม.) ใ้นผู้ใหญ่ กดหน้าอก 30 ครั้ง โดยหลังการกดแต่ละครั้งต้องปล่อยให้หน้าอกยกตัวขึ้นสุดก่อนที่กดครั้งต่อไป โดยที่ส้นมือไม่หลุดออกจากผนังหน้าอก กดหน้าอกแบบเร็วและแรงตามที่กำหนด ( push hard and push fast ) ด้วยอัตราอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาทีแต่ไม่เกิน 120  ( AHA 2015 )จากนั้นให้ผู้ช่วยเหลือทำการเป่าปากผู้บาดเจ็บ 2 ครั้ง โดยจัดผู้บาดเจ็บให้อยู่ในท่ากดหน้าผากและเชยคางเช่นเดิม ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของมือที่วางบนหน้าผากบีบจมูกผู้บาดเจ็บ สูดลมหายใจเข้า วางปากผู้ช่วยเหลือครอบปากผู้บาดเจ็บ แนบให้สนิท และเป่าลมเข้าไป โดยการเป่าแต่ละครั้งให้ยาวประมาณ 1 - 2 วินาที จนเห็นหน้าอกผู้บาดเจ็บยกตัวขึ้น พร้อมกับปล่อยให้หน้าอกผู้บาดเจ็บยุบลงมาอยู่ตำแหน่งเดิมก่อนที่จะเป่าครั้งที 2


Check pulse and Compression







หนึ่งวงรอบของการช่วยชีวิตประกอบด้วย การปั๊มหน้าอกผู้บาดเจ็บ 30 ครั้ง และเป่าปาก 2 ครั้ง คุณต้องทำอย่างนี้ทั้งหมด 5 รอบ ( ประมาณ 2 นาที ) จึงจะหยุดประเมินผู้บาดเจ็บ 1 ครั้ง ( หากต้องการประเมิน ) หรือทำต่อไปจนกว่าจะพบว่าผู้บาดเจ็บมีการขยับตัว /มีการหายใจ / มีชีพจร หรือมีเครื่องช็อคไฟฟ้ามาถึง หรือบุคคลากรทางการแพทย์มารับช่วงต่อ เราจึงจะหยุดได้ ( หยุดให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ minimizing interrupted )


กรณีที่ผู้ช่วยเหลือพบผู้บาดเจ็บล้มต่อหน้า หยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น หากต้องการช่วยเหลือแต่ไม่เคยได้รับการอบรมมาก่อน หรือต้องการช่วยเหลือแต่ไม่กล้าเป่าปาก ควรโทรเรียกความช่วยให้เร็วที่สุด ผู้ช่วยเหลือสามารถทำการปั๊มหัวใจอย่างเดียวได้จนกว่าความช่วยเหลือจะมาถึง ( Hands- only CPR ) ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสำเร็จได้มากกว่าการไม่ได้ทำอะไรเลย

ท่านสามารถอ่านบทความ Highlights of 2015 Guidelines Update for CPR and ECC ได้ใน web นี้

หมายเหตุ :
 
บริษัทสยามเมดิคอลเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด 

087-034-9000 , 088-892-5193, 095-515-6086
ผู้ให้บริการฝึกอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลและการกู้ชีวิตเบื้องต้น 2015

 
หากท่านต้องการทราบรายละเอียดและราคาเกี่ยวกับหลักสูตรดังกล่าวติดต่อได้ทางอีเมล์และโทรศัพท์ด้านล่าง
อีเมล์  siammtc@gmail.com
Tel : 095-515-6086 , 087-034-9000 , 088-892-5193