การประเมินความรุนแรงผู้บาดเจ็บที่มีภาวะกระดูกหัก


บริษัทสยาม เมดิคอล เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
ผู้ให้บริการอบรม
 
1. หลักสูตรการปฐมพยาบาลและปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
( First Aid And Basic Life Support )


2. หลักสูตรการปฐมพยาบาลขั้น 2 ( สูง ) ระยะเวลาอบรม 3 วัน
( First Aid Level 2 and Cardio Life Support with AED )

ติดต่อขอรับรายละเอียดหลักสูตรดังกล่างได้ทางอีเมล์ หรือ โทรศัพท์ ตามด้านล่าง

TEL : 087-034-9000 , 088-892-5193 , 095-515-6086  EMAIL : siammtc@ gmail.com

* จากบทความครั้งก่อนเรื่องการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่มีภาวะกระดูกหัก ที่ผมได้เขียนไว้ ต้องขอบพระคุณบุคลากรหลายท่านที่ให้ความสนใจในบทความดังกล่าว หลายท่าน ส่งคำถามมายังเมล์ของบริษัท( siammtc@gmail.com ) สอบถามเรื่องการประเมินความรุนแรงของการบาดเจ็บเมื่อมีกระดูกหัก จริงแล้วบทความที่ผมได้เขียนลงในblog นี้ เป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาหลักสูตรการปฐมพยาบาลและปฏิบัติช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานที่ผมได้สอนให้กับบุคลากรที่เข้าอบรม ขอขอบพระคุณ Web Master และเจ้าของBlog ที่สละพื้นนี้ให้ผมและบริษัทได้เป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันความรู้ให้กับบุคลากรที่สนใจในเรื่องการปฐมพยาบาล ผมขออนุญาตเขียนเพิ่มเติมต่อจากบทความครั้งก่อน
การประเมินความรุนแรงผู้บาดเจ็บที่มีภาวะกระดูกหัก
จากบทความครั้งก่อนเรื่องการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่มีภาวะกระดูกหัก เราแบ่งชนิดของการหักของกระดูกเป็น 2 ชนิด คือ หักแบบเปิด และหักแบบปิด ซึ่งขอไม่กล่าวในบทความนี้ สิ่งที่หลายท่านสนใจและเกิดคำถามตามมาคือ แล้วกระดูกที่หักนั้นมีความรุนแรงแค่ไหน หากเราต้องการประเมินความรุนแรงของการหักในครั้งนั้นให้เราใช้เทคนิคการประเมินที่เรียกว่า " LAF "
Type of Fracture

LAF


" LAF " เป็นคำย่อที่เราจะนำมาใช้ทุกครั้งเพื่อประเมินความรุนแรงของการหักและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับอวัยวะข้างเคียง ซึ่งย่อมาจาก

" L " หมายถึง " LO
OK " ให้ผู้ช่วยเหลือประเมินโดยการสำรวจหรือสังเกตอวัยวะส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บหรือหัก ว่าลักษณะอย่างไร เช่น ชนิดของการหัก เปิด หรือ ปิด การผิดรูป โค้งงอ การบวม ลักษณะของแผล มีเลือดไหลแบบ Active Bleeding หรือไม่ การเปรียบเทียบอวัยวะด้านที่ได้รับการบาดเจ็บกับด้านที่ปกติ เป็นต้น
Deformity

" A " หมายถึง " ASK " กรณีที่ผู้บาดเจ็บยังมีสติอยู่ ให้ผู้ช่วยเหลือสอบถามอาการโดยตรงกับผู้บาดเจ็บ เกี่ยวกับการเจ็บปวด ลักษณะของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจมีผลข้างเคียงกับอวัยวะส่วนอื่นได้อีก
" F " หมายถึง " FEEL " สอบถามอาการเจ็บปวด ความรู้สึก อาการชา ซึ่งอาจหมายถึงระบบประสาทสั่งการส่วนนั้นได้รับการบาดเจ็บร่วมด้วย
นอกจากการใช้เทคนิค LAF อย่างที่กล่าวมาแล้ว ท่านจำเป็นจะต้องมีการประเิมินการบาดเจ็บของระบบในร่างกายอีกสองระบบ คือระบบไหลเวียนโลหิต และระบบประสาท ว่าทั้งสองระบบดังกล่าวได้รับผลกระทบจากการหักของกระดูกด้วยหรือไม่ โดยการใช้ เทคนิคตัวย่อที่เรียกว่า " CSM "

CSM

" C " หมายถึง " Circulation " ผู้ช่วยเหลือตรวจเช็ค ระบบไหลเวียนโลหิตที่ไหลมาเลี้ยงอวัยวะส่วนปลาย ที่อยู่ต่ำกว่าส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บว่ายังมีเลือดไหลมาเลี้ยงพอหรือไม่ โดยเช็คได้สองวิธีดังนี้
1. เช็คที่เส้นเลือดแดงใหญ่ เช่นหากมีการ
หักของกระดูกบริเวณแขน ให้เช็คระบบการไหลเวียนโลหิตบริเวณ ข้อมือ ( Radial Artery ) บริเวณข้อพับแขน ( Brachial Artery ), หากหักบริเวณขา ให้เช็ึึคบริเวณหลังเท้า ใกล้กับบริเวณข้อเท้า ( Dorsalis pedis ) , บริเวณข้อพับเข่า ( Popliteal Artery ) เป็นต้น หากคลำแล้วยังพบว่ามีการเต้นของชีพจรอยู่ แสดงว่ายังมีเลือดวิ่งมาเลี้ยงบริเวณส่วนปลายอยู่
2. เช็คบริเวณปลายเล็บ โดยการกด ที่ปลายเล็บของอวัยวะด้านที่ได้รับการบาดเจ็บ ซึ่งเมื่อกดสีเล็บบริเวณดังกล่าวจะซีดลง และให้ปล่อย สีของเ
ล็บที่ถูกกดและปล่อย จะีต้องกลับมาเป็นสีชมพูเช่นเดิมภายในเวลาประมาณ 2 วินาที หากสีชมพูกลับมาช้ากว่าเวลาที่กำหนด แสดงว่าระบบไหลเวียนโลหิตที่ส่งเลือดมาเลี้ยงอวัยวะส่วนปลายได้รับผลกระทบ

" S " หมายถึง " Sensation " เป็นการเช็คระบบประสาท การรับความรู้สึกของอวัยวะส่วนปลายที่อยู่ต่ำกว่าส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บ โดยการ สัมผัสเบาๆบริเวณ นิ้วมือ นิ้วเท้า และให้ผู้บาดเจ็บตอบ หากผู้บาดเจ็บไม่มีความรู้สึก รู้สึกลดลง หรือชาบริเวณดังกล่าว แสดงว่าระบบการรับรู้ส่วนนั้นเสียไป หรือถูกทำลาย

" M " หมายถึง " Movement " เป็นการเช็คการสั่งการของระบบประสาทที่ทำหน้าควบคุมอวัยวะส่วนปลายที่อยู่ต่ำกว่าส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บ โดยบอกให้ผู้บาดเจ็บลองกระดกข้อมือ ข้อเท้า ดู ถ้าไม่สามารถทำได้ตามปกติ อาจหมายถึงระบบประสาทได้รับผลกระทบหรือถูกทำลายนั่นเอง

การประเมินระบบไหลเวียนโลหิตและระบบประสาท เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญอย่างมาก เพื่อให้ทราบความรุนแรงที่เกิดขึ้นอวัยวะที่หักและอวัยวะที่อยู่ข้างเคียง เป็นการประเมินความเร่งด่วนที่ต้องให้ความช่วยเหลือหรือเคลื่อนย้ายนำส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว หลังจากประเมินความรุนแรงของอวัยวะส่วนที่หักได้แล้ว ลำดับต่อไปที่นักปฐมพยาบาลต้องปฎิบัติต่อคือการทำให้ส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บอยู่นิ่ง โดยการดาม ( Splint ) ซึ่งเป็นบทความที่ผมได้เขียนไว้ก่อนหน้านี้แล้ว


หมายเหตุ :
- หากท่านผู้อ่านต้องการบทความ/ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในหัวข้ออื่นๆ
ท่านสามารถส่งเมล์มาได้ที่ siammtc@gmail.com
- บริษัทสยามเมดิคอลเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด
ผู้ให้บริการฝึกอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลและการกู้ชีวิตเบื้องต้น
หากท่านต้องการทราบรายละเอียดและราคาเกี่ยวกับหลักสูตรดังกล่าวกรุณาติดต่อได้ที่
บริษัทสยามเมดิคอลเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด 087-034-9000 , 088-892-5193 , 095-515-6086 หรือทางอีเมล์ siammtc@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: