ขั้นตอนการเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ( Step for Aider )


บริษัทสยาม เมดิคอล เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
ผู้ให้บริการอบรม

 1. หลักสูตรการปฐมพยาบาลและปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
( First Aid And Basic Life Support )



2. หลักสูตรการปฐมพยาบาลขั้น 2 ( สูง ) ระยะเวลาอบรม 3 วัน
( First Aid Level 2 and Cardio Life Support with AED  )


หมายเหตุ 1 : เนื้อหาของบทความด้านล่างเกิดจากประสบการณ์จริง ของผู้เขียนทั้งในบทบาทของผู้ให้การรักษาพยาบาล ผู้พบเห็นในขณะที่ยังทำงานในตึกอุบัติเหต และบทบาทของวิทยากร ผู้เขียนจึงอยากนำเทคนิค ดังกล่าวมาถ่ายทอด เพื่อประโยชน์ต่อนักปฐมพยาบาลทุกคนที่มีส่วนช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ อีกทั้งยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับ
ผู้
บาดเจ็บ อันจะส่งผลให้ผู้บาดเจ็บสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ




ขั้นตอนการเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ( Step for Aider )
เหตุผลที่ต้องเขียนหัวข้อนี้ขึ้นมา เพราะนี่คือประเด็นหลักที่นักปฐมพยาบาลเบื้องต้นต้องคำนึงเสมอในการเข้าช่วย เนื่องจากหากผู้ที่เข้าช่วยเหลือไม่ทำตามStep หรือขั้นตอนที่จะกล่าวต่อไปนี้ นอกจากตัวผู้เข้าช่วยจะไ้ด้รับอันตรายแล้ว ยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อตัวผู้บาดเจ็บด้วย ซึ่่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลักด้วยกันคือ

1. มีสติ

นี่เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่นักปฐมพยาบาลจะต้องมี ทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์ หรืออุบัติเหตุ ผู้เข้าช่วยเหลือต้องมีสติ รับรู้ว่ามีเหตุการณ์อะำไรเกิดขึ้น สถานการณ์ ณ ปัจจุบันเป็นอย่างไร ตัวผู้เข้าช่วยสามารถเข้าช่วยหรือควบคุมสถานการณ์ ได้เองหรือไม่ จำเป็นต้องขอความช่วยจากใครหรือไม่ การตัดสินใจเหล่านี้สำคัญมากทั้งตัวผู้เข้าช่วย และผู้บาดเจ็บ

2. ประเมินสถานการณ์

นี่เป็นหัวข้อที่นักปฐมพยาบาลเบื้องต้นมักจะละเลย หรือไม่ให้ความสำคัญ คุณลองนึกถึงภาพเหตุการณ์หากมีพนักงานบริษัทคุณถูกไฟ้ฟ้าดูดอยู่คุณจะทำอย่างไร ? หากคุณรีบวิ่งเข้าไปช่วยโดยไม่ได้มีการประเมินสถานการณ์ก่อน คุณหรือผู้เข้าช่วยจะกลายเป็นผู้บาดเจ็บรายที่สองทันที เพราะอาจยังมีกระแสไฟที่สามารถทำอันตรายต่อตัวผู้เข้าช่วย มิหนำซ้ำ
ต้วผู้บาดเจ็บก็ยังคงได้รับอันตรายจากกระแสไฟอยู่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ผู้เข้าช่วยเหลือต้องคำนึงทุกครั้งในขณะเข้าช่วยนอกจากการมีสติแล้ว ก็คือการประเมินสถานการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยต้องประเมินให้ครบทั้งสามด้าน คือ
2.1 ประเมินสถานการณ์เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับตัวผู้เข้าช่วย
2.2 ประเมินสถานการณ์เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับตัวผู้บาดเจ็บเพิ่มเติม

2.3
ประเมินสถานการณ์เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับบุคคลรอบข้าง
หากประเมินแล้วพบว่าอันตรายยังคงมีอยู่ไม่ว่าจะเกิดกับตัวผู้เข้าช่วย / ผู้บาดเจ็บ /บุคคลรอบข้าง ต้องระงับหรือขจัดอันตรายเหล่านั้นออกไปก่อน


3. ประเมินผู้บาดเจ็บ
ขั้นตอนนนี้ถือว่าขั้นตอนที่สาม ไม่ใช่ขั้นตอนที่หนึ่ง ทำไมต้องเขียนเ่ช่นนี้ เพราะผู้เข้าช่วยเหลือส่วนใหญ่มักจะปฏิบัติขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรก แล้วเกิดอะำไรขึ้น หากคุณนึกภาพเหตุการณ์ในข้อที่สองได้ หากผู้เข้าช่วยเหลือเข้าไปประเมินโดยการถูกตัวผู้บาดเจ็บทันทีจะเกิดอะไรขึ้น ฉะนั้นขอให้คำนึงเสมอว่า ก่อนที่ผู้เข้าช่วยเหลือจะเข้าถึงตัวผู้บาดเจ็บ ต้องผ่านสองขั้นตอนด้านบนมาก่อน

การประเมินผู้บาดเจ็บจะแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้
3.1 การประเมินผู้บาดเจ็บระยะเร่งด่วน
จำไว้เลย ! ขั้นตอนนี้ไม่ทำไม่ได้ นั่นคือขั้นตอนการประเมินสภาวะการมีชีวิตอยู่ของผู้บาดเจ็บ โดยประเมิน 3 ระบบดังนี้ คือ

  • ระบบประสาท
  • ระบบหายใจ
  • ระบบไหลเวียนโลหิต
ซึ่งทั้ง 3 ระบบนี้ต้องทำงานประสานกัน หากพบว่าระบบใดหยุดทำงาน ต้องรีบแก้ไข หรือกู้คืนทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบหายใจ / และระบบไหลเวียนโลหิต
3.2 การประเมินผู้บาดเจ็บระยะทั่วไป
การประเมินระยะนี้จะทำได้ก็ต้องเมื่อการประเมินระยะเร่งด่วนได้ผ่านพ้นไปแล้ว นั่นหมายความว่า ผู้บาดเจ็บยังมีชีวิตอยู่นั่นเอง การประเมินระยะนี้ก็คือ การตรวจร่างกายผู้บาดเจ็บ โดยต้องตรวจให้ครบทุกระบบ ตั้งแต่ศีรษะ ถึงเท้า

4. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
แน่นอนหลังจากที่ผู้เข้าช่วยเหลือประเมินผู้บาดเจ็บ อาจจะพบสาเหตุหรืออวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บ ขั้นตอนต่อไปคือการปฐมพยาบาล ณ ส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บนั่นเอง
โดยผู้ให้การปฐมพยาบาลจำเป็นจะต้องมีความรู้ มีทักษะ (่ผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ) เพราะหากเข้าช่วยเหลือทั้งๆที่ไม่มีความรู้ หรือไม่มีทักษะในการเข้าช่วย แทนที่จะทำให้ผู้บาดเจ็บรอดพ้นจากอันตราย กลับอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกับตัวผู้บาดเจ็บ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตของผู้บาดเจ็บในอนาคต
5. การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ
หลังจากให้การปฐมพยาบาลแก่ผู้บาดเจ็บแล้ว อาจจำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายผูู้บาดเจ็บ ไปไว้ยังจุดที่ปลอดภัย หรือเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บเพื่อส่งไปรักษาต่อยังสถานพยาบาล นักปฐมพยาบาลจำเป็นต้องคำนึงถึงท่าที่ใช้ในการเคลื่อนผู้บาดเจ็บด้วย เพราะหากให้การเคลื่อนที่ผิดวิธี อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อตัวผู้บาดเจ็บได้ตลอดเวลา ฉะนั้นทักษะเหล่านี้จำเป็นต้องการรับการเรียนรู้และฝึกฝนจึงจะเกิดความปลอดภัยต่อทั้งตัวผู้เข้าช่วยเหลือและผู้บาดเจ็บเอง
หมายเหตุ 2 :
- หากท่านผู้อ่านต้องการบทความ/ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในหัวข้ออื่นๆ
ท่านสามารถส่งเมล์มาได้ที่ siammtc@gmail.com
- บริษัทสยามเมดิคอลเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด 087-034-9000 , 088-892-5193 , 095-515-6086
ผู้ให้บริการฝึกอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลและการกู้ชีวิตเบื้องต้น
หากท่านต้องการทราบรายละเอียดและราคาเกี่ยวกับหลักสูตรดังกล่าวกรุณาติดต่อได้ที่
บริษัทสยามเมดิคอลเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด หรืออีเมล์ siammtc@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น