ปฏิบัติการช่วยชีวิต เวอร์ชั่น 2015 ( CPR 2015 )



  สรุปแนวทางปฏิบัติการช่วยชีวิตปี ค.ศ.2015

ตาม guidelines American Heart Association, The Heart Association of Thailand และ Thai Resuscitation Council

  •   แนวทางการช่วยฟื้นคืนชีพปี 2015 ได้มีการปรับปรุงระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น โดยแบ่งเป็น ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นในโรงพยาบาล (In-hospital cardiac arrest ; IHCAs) และผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล (Out-of-hospital cardiac arrests ; OHCAs )โดยแบ่งห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิตเป็น 2 ห่วงโซ่ดังนี้ 

     

    เป็นห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิตในโรงพยาบาลโดยจะเน้นที่การเฝ้าระวังของบุคลากรทางการแพทย์ก่อนที่ผู้ป่วยจะเกิดภาวะวิกฤต ระบบการดูแลจะขึ้นอยู่กับการประสานงานของหน่วยงานของหน่วยงานในโรงพยาบาล


    เป็นห่วงโซ่แห่งรอดชีวิตนอกโรงพยาบาล เน้นการพึ่งพาชุมชนและผู้เห็นเหตุการณ์ขณะนั้น ให้เริ่มทำการช่วยชีวิต รวมถึงการใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าที่มีในสถานที่สาธารณะ


    ในบทความนี้ขอกล่าวเฉพาะห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิตนอกโรงพยาบาลที่เน้นให้ผู้เห็นเหตุการณ์เริ่มปฏิบัติการฟื้นคืนชีพให้เร็วที่สุด 

    ก่อนอื่นอยากให้ผู้อ่านรู้จักคำศัพท์เหล่านี้ก่อน

    Untrained Lay Rescuer คือประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้รับการฝึกอบรม CPR

    Trained Lay Rescuer คือประชาชนที่ได้รับการฝึกอบรม CPR

    Emergency Dispatcher คือหน่วยงานที่รับเรื่อง หรือรับแจ้งเหตุ ในประเทศไทยคือสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน 1669

    ทำไมผู้อ่านต้องรู้จักคำเหล่านี้ เพราะบุคลากรเหล่านี้คือหัวใจสำคัญในการช่วยชีวิตผู้บาดเจ็บที่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล ท่านจะเห็นว่า 3 ห่วงโซ่แรก เป็นหน้าที่หลักของ lay rescuer โดยมี dispatcher เป็นผู้ให้คำแนะนำทางโทรศัพท์รวมทั้งเป็นผู้ประสานงานกับศูนย์ EMS และแจ้งสถานที่เก็บเครื่อง AED รวมถึงการใช้เครื่องช็อกไฟฟ้า การเข้าถึงการใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าของ lay rescuer ต้องเร็วที่สุด เพราะนั่นหมายถึงการรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บจะมีสูงขึ้นทันที

    เวอร์ชั่น 2015 เน้นเรื่องคุณภาพการช่วยชีวิตเป็นอย่างมาก ( Quality CPR )ด้วย 4 คำนี้ คือ

    Rate : อัตราการปั๊มหัวใจ เปลี่ยนจากอย่างน้อย 100 ครั้งต่อนาที่ เปลี่ยนเป็นปั๊มอย่างน้อย 100 แต่ไม่ควรเกิน 120 ครั้งต่อนาที 

    Depth : การปั๊มในแต่ละครั้ง เปลี่ยนจากการปั๊มให้ลึกอย่างน้อย 5 ซม.( 2 นิ้ว ) เป็นปั๊มให้ลึกอย่างน้อย 5 ซม.แต่ไม่ควรลึกเกิน 6 ซม.( 2.4 นิ้ว )

    Recoil : ต้องไม่พักมือหรือปล่อยน้ำหนักไว้บนหน้าอกผู่้บาดเจ็บก่อนการปั๊มในครั้งต่อไป ต้องปล่อยให้หน้าอกยกตัวขึ้นสุดก่อนกดในครั้งต่อไปนั้นเอง

    Position : ตำแหน่งในการวางมือของการปั๊มต้องวางมือตรงส่วนล่างของกระดูกหน้าอก ( lower half of sternum bone ) 

    นอกจากนั้น ต้องหยุดกดหน้าอกให้น้อยที่สุด  เพื่อเพิ่มจำนวนครั้งของการกดหน้าอกให้ได้สูงที่สุด การรบกวนการกดหน้าอกควรเกิดขึ้นแค่ในช่วของการวิเคราะห์ดูคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือการช่วยหายใจเท่านั้น ค่า Chest compression fraction หรือสัดส่วนช่วงเวลาการกดหน้าอกเทียบกับช่วงเวลาในการทำ CPR ทั้งหมด ควรต้องมีค่ามากกว่า 60 

    เวอร์ชัน2015เน้นการเข้าถึงเครื่อง AED(Automated External Defibrillator)ให้เร็วที่สุด จึงมีการเปลี่ยนชื่อจาก AED เป็น PAD (Public access Defibrillator) เพื่อสร้างความรู้สึกให้กับประชาชนว่าเครื่องดังกล่าวสามารถใช้ได้แม้ประชาชนที่ไม่เคยได้รับการฝึกการใช้เครื่องมาก่อน  

    กระบวนการการช่วยชีวิตของ lay rescuer ค.ศ. 2015  

    1. ก่อนเข้าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ต้องประเมินสถานะการณ์ความปลอดภัย ก่อนเสมอ

    2. จากนั้นทำการประเมินความรู้สึกตัวของผู้บาดเจ็บ หากพ่าหมดสติ ให้ร้องขอความช่วยเหลือจากุคคลข้างเคียง หรือ โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือ 1669 หากมีเครื่อง AED อยู่กล้ให้วิ่งไปหยิบมาก่อน หรือวานให้่บุคลใกล้เคียงไปหยิบมา  

    3. ทำการเช็คการหายใจและชีพจร ภายในเวลา 10 วินาที หากพบว่าหยุดหายใจ หรือมีภาวะหายใจเฮือก ( gasping ) ให้เริ่มกระบวนช่วยฟื้นคืนชีพทันที

    4. โดยเริ่มจากการปั๊มหัวใจ 30 ครั้ง สลับกับการเป่าปาก 2 ครั้ง ต่อเนื่องจนกว่าจะมีมีทีม EMS หรือเครื่องช็อกไฟฟ้ามาถึง

    5. หากมีเครื่องช็อกไฟฟ้ามาถึง ให้รีบเปิดระบบใช้งานทันที 

    6. ปล่อยให้เครื่องช็อคไฟฟ้าวิเคราะห์คลื่นหัวใจ หากพบว่าเป็นคลื่นไฟฟ้าที่สามารถช็อกได้ให้ทำการกดช็อกทันที และทำการ CPR ต่อจนครบ 2 นาที หยุดให้เครื่องช็อกไฟฟ้าอีกครั้ง

    7. กรณีที่เครื่องช็อคไฟฟ้าไม่พบคลื่นที่สามารถช็อกได้ ให้ทำการ CPR ต่อจนครบ 2 นาทีเช่นกันแล้วจึงหยุดให้เครื่องวิเคราะห์คลื่นหัวใจอีกครั้ง

    8. ทำการ CPR อย่างต่อเนื่องจนกว่าทีม EMS จะมาถึง

    ดัง Flow Chart CPR ด้านล่าง

    CPR Algorithm 2015  

     

    ............................................................

    SIAM MEDICAL TRAINING CENTER.CO.,LTD.

     TEL :087-034-9000 , 088-892-5193 , 095-515-6086 

    ติดต่อขอรับรายละเอียด
    หลักสูตรการปฐมพยาบาลและปฏิบัติการกู้ชีวิตขั้นพื้นฐาน 2015
    ทางอีเมล์ siammtc@gmail.com



      

     

     

     

     

     

     

1 ความคิดเห็น: