บริษัทสยาม เมดิคอล เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
ผู้ให้บริการอบรม
1. หลักสูตรการปฐมพยาบาลและปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
( First Aid And Basic Life Support )
2. หลักสูตรการปฐมพยาบาลขั้น 2 ( สูง ) ระยะเวลาอบรม 3 วัน
( First Aid Level 2 and Cardio Life Support with AED )
หมายเหตุ 1 : เนื้อหาของบทความด้านล่างเกิดจากประสบการณ์จริง ของผู้เขียนทั้งในบทบาทของผู้ให้การรักษาพยาบาล ผู้พบเห็นในขณะที่ยังทำงานในตึกอุบัติเหต และบทบาทของวิทยากร ผู้เขียนจึงอยากนำเทคนิค ดังกล่าวมาถ่ายทอด เพื่อประโยชน์ต่อนักปฐมพยาบาลทุกคนที่มีส่วน ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ อีกทั้งยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับ
ผู้บาดเจ็บ อันจะส่งผลให้ผู้บาดเจ็บสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวัน
ได้อย่างปกติ
การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่ำไ้ด้รับสารพิษ
สารพิษคืออะไร?
สารพิษ คือ สารที่เข้าสู่ร่างกายและทำให้เกิดพิษนั่นเอง
สารพิษ เข้าสู่ร่างกายได้กี่ทาง?
สารพิษเข้าสู่ร่างกายได้ 4 ทาง
1. ทางระบบทางเดินอาหาร อาจเกิดจากการเผลอรับประทานเข้าไป หรือจากความตั้งใจ
2. ทางระบบทางเดินหายใจ อาจเกิดจากสารระเหยที่รั่วไหลและระเหยออกมา
3. ทางระบบผิวหนัง จากการดูดซึมเข้าสู่ผิวหนัง
4. ทางการฉีด หรือถูกกัด / ต่อย
การออกฤทธิ์ของสารพิษ
1. ออกฤทธิ์กดประสาท รูม่านตาเล็กลง ปลุกไม่ตื่น หมดสติ
2. ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้เพ้อ หน้าแดง ตื่นเต้น ชีพจรเร็ว รูม่านตาขยาย
3. ออกฤทธิ์ กัดกร่อน และระคายเคือง เนื้อเยื่อของร่ายกายถูกทำลาย ปวดแสบ ปวดร้อน
อาการของผู้ที่ได้รับสารพิษ
1. อาการเล็กน้อย ตั้งแต่มีอาการเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปวดศรีษะ
2. อาการปานกลาง คลื่นไส้ อาเจียน น้ำมูก น้ำตาไหล กล้ามเนื้อสั่น เกร็ง
3. อาการรุนแรง ท้องเสีย หายใจลำบาก หมดสติ ระบบหายใจ/ระบบไหลเวียนโลหิตหยุดทำงาน
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้บาดเจ็บที่ได้รับสารพิษ
สามารถให้การปฐมพยาบาลได้ 3 วิธีหลักๆ แล้วแต่สถานการณ์ ดังนี้
1. โดยการขจัดสารพิษออกจากร่างกายโดยตรง
2. โดยการเจือจางสารพิษนั้นลง
3. โดยการใช้สารดูดซึมเข้าช่วย
สารพิษเข้าสู่ร่างกายทางระบบทางเดินอาหาร จะทำอย่างไร?หากพบผู้บาดเจ็บได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายทางระบบทางเดินอาหาร คุณสามารถประยุกต์หลักการ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 3 ข้อด้านบนมาใช้ได้ทันที - ขจัดสารพิษออกโดยการทำใ้ห้ อาเจียน ด้วยการล้วงคอ หรือทานไข่ดิบประมาณ 2-3ฟอง
แต่ห้ามทำให้ผู้บาดเจ็บอาเจียนเด็ดขาด กรณีที่ทราบว่าสารพิษนั้นมีคุณสมบัติเป็นกรด - ด่าง เพราะจะ
จะทำให้สารพิษย้อนกลับมากัดซ้ำรอบสอง
- ทำให้สารพิษเจือจาง อาจให้ผู้บาดเจ็บดื่มน้ำ หรือนม อย่างน้อย 1-2 ลิตร
แต่ห้ามใช้วิธีเจือจางเด็ดขาด หากทราบว่าสารพิษดังกล่าวมีคุณสมบัติแตกตัวหรือทำปฏิกิิริยากับน้ำ
- การใช้สารดูดซึม ผู้บาดเจ็บที่อยู่ในโรงพยาบาล แพทย์อาจรักษาโดยการใช้สารดูดซึมเข้าช่วย เช่น
Activate Charcoal (ผงถ่าน )แปรรูปเป็นผง ผสมกับน้ำให้ผู้บาดเจ็บรับประทาน
สารพิษเข้าสู่ร่างกายทางระบบทางเดินหายใจ จะทำอย่างไร?
สิ่งที่ผู้เข้าช่วยเหลือต้องคำนึงเป็นอันดับแรกคือ ความปลอดภัยของผู้เข้าช่วยเอง หากผู้เข้าช่วยเหลือ
อยู่ในบริเวณที่ยังมีสารพิษรั่วไหลอยู่ ผู้เข้าช่วยต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันก่อนทุกครั้ง การเคลื่อนย้าย
ผู้บาดเจ็บให้เคลื่อนย้ายมาไว้ยังที่ที่ปลอดภัย อากาศถ่ายเทได้สะดวก และที่สำคัญต้องอยู่เหนือลม
ดูแลรักษาตามอาการ ให้อ๊อกซิเจน (หากมี ) ให้ได้ทั้งชนิด canula และ mask
สารพิษดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง จะทำอย่างไร?
การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่มีสารพิษที่ลักษณะเป็นผงฝุ่น เกาะตาม ผม ผิวหนัง เสื้อผ้า ต่างๆ
ใช้หลักการปฐมพยาบาล 2 ข้อหลักด้านบนมาประยุกต์ใช้ได้โดยการขจัดออกและทำให้เจือจาง
แต่ที่สำคัญต้องจำStep หรือขั้นตอนในการช่วยเหลือให้ดี เพราะหากไม่ทำตามขั้นตอนอาจส่งผลให้
เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อผู้บาดเจ็บไ้ด้ การให้ความช่วยเหลือมีขั้นตอนดังนี้
1. ต้องถอดเสื้อผ้า ของผู้บาดเจ็บออกให้หมดก่อน เพราะอะำไร? เหตุผลเพราะสารพิษบางชนิดทำปฏิกิริยา
กัุบน้ำหากคุณใช้น้ำฉีดเข้าไปทันที อาจส่งผลให้สารพิษแตกตัวและกัดกร่อนผิวหนังของผู้บาดเจ็บได้
2. ขั้นตอนที่ 2 ก็ยังไม่ใช้น้ำอีีกเช่นกัน คุณต้องปัดสารเคมี ที่ติดอยู่ตามร่างกายของผู้บาดเจ็บออกให้ได้
มากที่สุด ด้วยหลักการและเหตุผลเดียวกับกับข้อแรก
3. ขั้นตอนที่ 3 ใช้น้ำจำนวนมากๆล้างทันที
การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่ได้รับสารพิษลักษณะเป็นของเหลวกระเด็นเข้าตา
ใช้หลักการทำให้สารพิษเจือจางลงเป็นหลัก ห้ามใช้วิธีการขจัดออกด้วยการเช็ดเด็ดขาด
เพราะอาจมีผลทำให้เนื้อเยื่อตาหลุดออกมา ให้ใช้วัสดุที่ดุดซึมได้ดีวางเบาๆบริเวณที่ได้รับสารพิษ
- การทำให้สารพิษเจือจางลงโดยการล้างตา แต่ต้องมีเทคนิคการล้างที่ถูกต้อง
- ไม่ใช้วิธีการล้างตาด้วยถ้วยล้างตาเด็ดขาด เพราะการล้างด้วยน้ำจำนวนน้อย อาจจะเป็นสาเหตุทำให้สารพิษนั้นแพร่กระจายมากขึ้น
- หากหลีกเลี่ยงได้ ไม่ควรใช้วิธีล้างตา ด้วยเครื่องล้างตาที่มีแรงดันน้ำสูงๆ เพราะอาจทำให้เนื้อเยื่อตาบางส่วนหลุดได้
- การล้างตาที่ถูกต้อง บอกให้ผู้บาดเจ็บนอนตะแคงเอียงศีรษะและดวงตาด้านที่สัมผัสกับสารพิษลงล่าง เปิดเปลือกตาบน-ล่างของผู้บาดเจ็บ เทน้ำหรือน้ำยาล้างตาให้สัมผัสกับดั้งจมูกให้น้ำไหลผ่านดวงตาที่บาดเจ็บ ห้ามเทน้ำให้กระทบหรือสัมผัสกับดวงตาโดยตรง เพราะอาจทำให้เนื้อเยื่อตาหลุดได้
การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่ถูกวัสดุปักคาบริเวณดวงตา ( เศษหินเจียร เศษเหล็ก เป็นต้น )
ห้ามใช้วิธีการขจัดออกโดยการเขี่ยวัสดุเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เศษวัสดุฝังลึกลงไปอีก
การรักษาดังกล่าวอยู่นอกเหนือความสามารถที่นักปฐมพยาบาลเบื้องต้นจะทำได้ ให้เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ
ส่งโรงพยาบาล แต่ขณะทำการเคลื่อนย้าย ต้องป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อดวงตาผู้บาดเจ็บเพิ่มขึ้น
โดยการปิดดวงตาที่ได้รับการบาดเจ็บ การปิดดวงตาที่ถูกต้อง ให้ใช้กรวยหรือแก้วปิดครอบไปที่ดวงตา ที่ได้รับการบาดเจ็บโดยไม่ให้โดนดวงตา และพันด้วยผ้ายืดหรือผ้าก๊อส การปิดตาต้องปิดทั้งสองข้าง
เพราะหากปิดเฉพาะด้านที่บาดเจ็บ ตาด้านที่ปกติยังคงเคลื่อนไหวอยู่ จะส่งผลให้ตาด้านที่เจ็บเคลื่อนไหว
ตามไปด้วย ห้ามใช้แผ่นปิดตา ( Eye pad ) หรือผ้าปิดทับไปที่่ดวงตาเด็ดขาดเพราะจะทำให้เศษเหล็กฝังลึก
ลงไปอีก
หมายเหตุ 2 :
- หากท่านผู้อ่านต้องการบทความ/ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในหัวข้ออื่นๆ
ท่านสามารถส่งเมล์มาได้ที่ siammtc@gmail.com
- บริษัทสยามเมดิคอลเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด 087-034-9000 , 088-892-5193 , 095-515-6086
ผู้ให้บริการฝึกอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลและการกู้ชีวิตเบื้องต้น
หากท่านต้องการทราบรายละเอียดและราคาเกี่ยวกับหลักสูตรดังกล่าวกรุณาติดต่อได้ที่บริษัทสยามเมดิคอลเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด หรืออีเมล์ siammtc@gmail.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น