การปฐมพยาบาลบาดแผลปิด


บริษัทสยาม เมดิคอล เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
ผู้ให้บริการอบรม

1. หลักสูตรการปฐมพยาบาลและปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
( First Aid And Basic Life Support )



 2. หลักสูตรการปฐมพยาบาลขั้น 2 ( สูง ) ระยะเวลาอบรม 3 วัน
( First Aid  Level 2 and Cardio Life Support with AED  )

หมายเหตุ 1 : เนื้อหาของบทความด้านล่างเกิดจากประสบการณ์จริง ของผู้เขียนทั้งในบทบาทของผู้ให้การรักษาพยาบาล ผู้พบเห็นในขณะที่ยังทำงานในตึกอุบัติเหต และบทบาทของวิทยากร ผู้เขียนจึงอยากนำเทคนิค ดังกล่าวมาถ่ายทอด เพื่อประโยชน์ต่อนักปฐมพยาบาลทุกคนที่มีส่วนช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ อีกทั้งยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับ
ผู้
บาดเจ็บ อันจะส่งผลให้ผู้บาดเจ็บสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ





การปฐมพยาบาลบาดแผลปิดบาดแผล หมายถึง
การบอบช้ำ หรือ
และการฉีกขาดของผิวหนัง/กล้ามเนื้อของร่างกาย
ความรุนแรงขึ้นอยู่กับสิ่งที่มากระทบและตำแหน่งของการบาดเจ็บ


บาดแผลแบ่งออกเป็นกี่ชนิด ?
โดยทั่วไปเราแบ่งบาดแผลออกเป็น 2 ชนิด เพื่อให้ง่ายต่อการปฐมพยาบาลนั่นเอง
1.
บาดแผลปิดด้แก่บาดแผลที่ได้รับอันตรายจากวัสดุไม่มีคมมากระทบเช่น ถูกต่อย สิ่งของหล่นใส่ มีอาการฟกช้ำ บวม เขียวช้ำ เป็นต้น
2.
บาดแผลเปิดด้แก่บาดแผลที่ได้รับอันตรายและมีการฉีกขาดของผิวหนังและกล้ามเนื้อ มีเลือดซึมออกมา
ต่อไปนี้เราจะมาดูวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ผู้บาดเจ็บที่ได้รับอันตรายและมีลักษณะบาดแผลเป็นแบบปิด

ก่อนอื่นเรามาดูว่า เหตุใดผู้บาดเจ็บที่ถูกวัสดุหล่นใส่หรือถูกกระแทก ทำไมบาดแผลบริเวณนั้นจึงมีอาการบวม ช้ำเขียว ?
เหตุผลก็เนื่องมาจากเส้นเลือดฝอยที่นำเลือดและออกซิเจนมาเลื้ยงเนื้อเยื่อบริเวณนั้นได้รับการกระแทกและมีผลทำให
้เส้นเลือดฝอยดังกล่าวแตก หากเปรียบเส้นเลือดฝอยเป็นท่อประปา หัวใจเป็นเครื่องปั๊มน้ำ ทุกครั้งที่หัวใจมีการเต้น จะีการสูบฉีดเลือดให้วิ่งไปตามท่อ เมื่อมีรูหรือมีการฉีกขาดของเส้นเลือด เลือดก็จะไหลออกจากท่อ ไปคั่งอยู่ในกล้ามเนื้อใต้ชั้นผิวหนัง อันเป็นสาเหตุของการบวมนั่นเอง
เมื่อเรารู้ถึงสาเหตุของการบวมแล้ว ก็ต้องแก้ที่ต้นเหตุเช่นกัน
นั่นคือทำให้รูที่เกิดจากการฉีกขาดเล็กลงเพื่อให้เลือดไหลออกน้อยลงนั่นเอง
หลักการการปฐมพยาบาลให้ใช้หลักการ " RICE "R = REST
ให้ผู้บาดเจ็บหยุดการเคลื่อนไหวอวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บทันที เพราะถ้ายิ่งเคลื่อนไหว ยิ่งทำให้เส้นเลือดฝอยบริเวณนั้นแตกมากขึ้นนั่นเอง
I = ICE ใช้ความเย็นหรือน้ำแข็งประคบ/วางบนบริเวณที่ได้รับการบาดเจ็บทันที อย่างน้อยนานประมาณ 30 นาที หากคุณใช้น้ำแข็งให้ห่อน้ำแข็งด้วยผ้าที่ชุบน้ำหมาดๆจะเป็นการกระจายความเย็นได้ดีที่สุด ให้ประคบด้วยความเย็นไปตลอดเมื่อมีโอกาส โดยให้ประคบด้วยความเย็นหรือน้ำแข็งเพียง 1 วันหลังจากได้รับอุบัติเหตุเท่านั้น แต่เมื่อเลย 1 วันหลังเกิดเหตุใ้ห้ใช้น้ำอุ่นประคบ เหตุผลที่ให้ประคบด้วยความเย็นใน 1 ว้นแรกหลังเกิดเหตุก็เนื่องจากเมื่อเส้นเลือดฝอยบริเวณที่ได้รับอันตรายถูกความเย็นจะมีการหดตัว เป็นผลทำให้รูหรือรอยฉีกขาดของเส้นเลือดหดเล็กลง จึงทำให้เลือดซึมหรือไหลออกจากเส้นเลือดน้อยลงนั่นเอง ทำให้บวมน้อยลง แต่พอหลังจาก 1 วันหลังเกิดเหตุให้ประคบด้วยของอุ่น ก็เพราะมีเลือดบางส่วนที่ไหลออกมาคั่งอยู่ใต้้ผิวหนัง หลังจากได้รับอุบัติเหตุ พอเส้นเลือดได้รับของอุ่นจะขยายตัว และจะดูดซึมเลือดที่คั่งอยู่ให้กับเข้าสู่ร่ายกาย ทำให้ลดอาการบวมลงได้

ความเชื่อที่ผิด และมักได้รับการปฏิบัติเสมอมา !นักปฐมพยาบาลหรือผู้บาดเจ็บบางท่านให้การปฐมพยาบาลที่ผิด จนมีผลทำให้เกิดอาการบวมมากขึ้น นั่นคือการทาด้วยยาที่ีมีสูตรร้อน ใน1วันแรกหลังเกิดเหตุ จนมีผลทำให้เส้นเลือดเกิดการขยายตัว รูหรือรอยฉีกขาดเปิดกว้างขึ้น ทำให้เกิดอาการบวมเพิ่มขึ้น ฉะนั้นใน 1 วันแรกให้ใช้น้ำแข็ง ร่วมกับหลักการข้ออื่นก็เพียงพอแล้ว หากต้องการใช้ยาสูตรร้อนให้ใช้ในว้นที่ 2 โดยให้ทาอย่างเดียวไม่นวดเด็ดขาด
C = COMPRESSION
คือการยึดเพื่อไม่ให้อวัยวะที่ได้รับอันตรายมีการเคลื่อนไหวมากขึ้น อันจะส่งผลให้เส้นเลือดและกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวฉีกขาดเพิ่มขึ้นนั่นเอง การยึดดังกล่าวอาจใช้ ผ้าหรือ ผ้ายืด พัน หลักการพันผ้ายืดควรพันให้กระชับ ไม่หลวมหรือคับจนเกินไป และที่สำคัญ ขนาดหรือไซส์ของผ้าต้องเหมาะสมกับขนาดของอวัยวะที่จะพัน เช่น ผ้ายืดขนาด 2-3 " ให้ใช้พันบริเวณมือ ข้อมือ ขนาด 4-5 " พันบริเวณ ต้นแขน ขาส่วนปลาย ขนาด 6 " พันบริเวณ ต้นขา หรือหน้าอก เป็นต้น

E = ELEVATION
การยกอวัยวะส่วนที่ได้รับบาดเจ็บให้สูงกว่าระดับหัวใจนั่นเอง จะมีผลทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณดังกล่าวน้อยลง ส่งผลให้เกิดการบวมลดลง
นักปฐมพยาบาลทุกคน เพียงคุณใช้หลักการดังกล่าวข้างต้น คุณก็สามารถช่วยให้บาดแผลปิดของผู้บาดเจ็บลดบวม หายได้เร็วขึ้น ลองนำไปใช้ดูนะครับหมายเหตุ 2 :
- หากท่านผู้อ่านต้องการบทความ/ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในหัวข้ออื่นๆ
ท่านสามารถส่งเมล์มาได้ที่ siammtc@gmail.com
- บริษัทสยามเมดิคอลเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด 087-034-9000 , 088-892-5193 , 095-515-6086
ผู้ให้บริการฝึกอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลและการกู้ชีวิตเบื้องต้น
หากท่านต้องการทราบรายละเอียดและราคาเกี่ยวกับหลักสูตรดังกล่าวกรุณาติดต่อได้ที่
บริษัทสยามเมดิคอลเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด หรือ อีเมล์ siammtc@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น: