การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่มีภาวะกระดูกหัก



การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่ภาวะกระดูกหัก ( Fracture )

ชนิดของการหักของกระดูก
 
กระดูกหักแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. หักแบบปิด หมายถึง ภาวะที่กระดูกได้รับความบาดเจ็บและเกิดการหักโดยไม่มีการแทงทะลุออกนอกผิวหนัง
2. หักแบบเปิด หมายถึง ภาวะที่กระดูกได้รับความบาด
เจ็บและหักแทงทะลุออกนอกผิวหนังหรือมีเลือดไหล


เราจะทราบได้อย่างไรว่าผู้บาดเจ็บมีภาวะกระดูกหักร่วมด้วย ?
 

อาการแสดงที่บ่งบอกว่าผู้บาดเจ็บมีภาวะกระดูกหัก
1. มีอาการบวม ช้ำ กดเจ็บในบริเวณที่บาดเจ็บ

2. มีอาการผิดรูป เช่นบิด โค้ง งอ หรือเคลื่อนไหวแล้วผิดปกติ
3. เจ็บเวลาขยับมีเสียงกรอบแกรม
4. อวัยวะสั้นกว่าปกติ (จะเกิดขึ้นในลัักษณะการหักและมีการซ้อนกันของกระดูก )
5. มีบาดแผล เห็นปลายกระดูกโผล่ออกนอกผิวหนั
อวัยวะมีลักษณะผิดรูป กระดูกหักโผล่ทิ่มออกนอกผิวหนัง

*** ต่อไปถือเป็นหลักการ ***
ถ้าคุณไม่มั่นใจว่าผู้บาดเจ็บมีภาวะกระดูกหัก ผมขอใหัคุุณเดา หรือสันนิฐานไว้ก่อนว่า ..หัก.. เพราะถ้าหักคุณจะต้องดามมัน ก่อนที่จะมีการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บออกมา สมมุติคุณดามไป ถึงโรงพยาบาล แพทย์ส่งX-ray แล้วกลับมาบอกคุณว่า "ดามมาทำไมไม่เห็นหักเลย " แล้วเกิดผลเสียต่อผู้บาดเจ็บหรือไม่ ....คำตอบคือ ไ่่ม่เลย กลับกันถ้าคุณเดาว่าไม่หักแล้วไม่ได้ดามไป(แต่ในความเป็นจริงเกิดหัก ) ขณะเคลื่อนผู้บาดเจ็บเกิดกระดูกส่วนที่หักแทงเส้นเลือดเส้นประสาทบริเวณที่หัก จะเกิดผลเสียต่อผู้บาดเจ็บท้นที


 








ฉะนั้นถือเป็นหลักการ ถ้าคุณไม่มั่นใจว่ากระดูกหักหรือไม่ ให้เดา หรือสันนิฐานทันทีว่า "หัก"

 
หลักการดามกระดูก หรือการเข้าเฝือกชั่วคราว ( Splint )


เมื่อเราทราบว่าผู้บาดเจ็บมีภาวะกระดูกหัก คุณจำเป็นจะต้องดามกระดูกก่อนให้การเคลื่อนย้าย โดยมีหลักในการดามดังนี้

1. กระดูกที่มีลักษณะหักแบบเปิด ให้ใช้ผ้าสะอาดปิดคลุมบริเวณที่บาดเจ็บ
2. ห้ามจัดหรือดึงกระดูกให้เข้าที่ ไม่ว่ากระดูกนั้นจะโก่ง งอ หรือคด
3. ผูกเฝือกให้แน่นพอควร เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก
4.ดามแบบ " สูง 1 ต่ำ 1 " เสมอ ทุกครั้งที่ดามกระดูก ให้ใช้หลักการดังนี้ " ดามให้เฝือกอยู่สูงกว่าส่วนที่หักขึ้นไป 1 ข้อ และดามให้เฝือกอยู่ต่ำกว่าส่วนที่หักลงไป 1 ข้อ" เช่น กระดูกปลายแขนหัก (กระดูกแขนที่อยู่ระหว่างข้อมือจนถึงข้อศอก ) คุณต้องดามให้เฝือกยาวกว่าข้อศอก (สูง 1) และยาวกว่าข้อมือ( ต่ำ 1 ) ถ้าคุณดามได้ดังนี้ จะส่งผลให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยมากเวลาเคลื่อนย้าย

กระดูกต้นแขนหัก กระดูกต้นขาหัก กระดูกปลายขาหัก
(หัวไหล่-ข้อศอก ) (ข้อสะโพก-ข้อเข่า) (ข้อเข่า-ข้อเท้า )


หากคุณสามารถทำได้ตามหลักการที่บอกไว้ รับประกันได้ว่า จะสามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บาดเจ็บได้ รวมทั้งยังสามารถลดหรือบรรเทาอาการเจ็บปวดได้มากทีเดียว

หมายเหตุ :



บริษัท สยาม เมดิคอล เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด

ผู้ให้บริการการอบรม

หลักสูตรการปฐมพยาบาลและปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
( First Aid And Basic Life Support )



หลักสูตรการปฐมพยาบาลขั้น 2 ( สูง ) ระยะเวลาอบรม 3 วัน
( First Aid Level 2 and Cardio Life Support with AED )


ติดต่อขอรายละเอียดได้ทางอีเมล์ หรือ โทรศัพท์ ด้านล่างนี้ TEL : 087-034-9000 , 088-892-5193, 095-515-6086 
EMAIL : siammtc@ gmail.com