การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่มีภาวะกระดูกหัก



การปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่ภาวะกระดูกหัก ( Fracture )

ชนิดของการหักของกระดูก
 
กระดูกหักแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. หักแบบปิด หมายถึง ภาวะที่กระดูกได้รับความบาดเจ็บและเกิดการหักโดยไม่มีการแทงทะลุออกนอกผิวหนัง
2. หักแบบเปิด หมายถึง ภาวะที่กระดูกได้รับความบาด
เจ็บและหักแทงทะลุออกนอกผิวหนังหรือมีเลือดไหล


เราจะทราบได้อย่างไรว่าผู้บาดเจ็บมีภาวะกระดูกหักร่วมด้วย ?
 

อาการแสดงที่บ่งบอกว่าผู้บาดเจ็บมีภาวะกระดูกหัก
1. มีอาการบวม ช้ำ กดเจ็บในบริเวณที่บาดเจ็บ

2. มีอาการผิดรูป เช่นบิด โค้ง งอ หรือเคลื่อนไหวแล้วผิดปกติ
3. เจ็บเวลาขยับมีเสียงกรอบแกรม
4. อวัยวะสั้นกว่าปกติ (จะเกิดขึ้นในลัักษณะการหักและมีการซ้อนกันของกระดูก )
5. มีบาดแผล เห็นปลายกระดูกโผล่ออกนอกผิวหนั
อวัยวะมีลักษณะผิดรูป กระดูกหักโผล่ทิ่มออกนอกผิวหนัง

*** ต่อไปถือเป็นหลักการ ***
ถ้าคุณไม่มั่นใจว่าผู้บาดเจ็บมีภาวะกระดูกหัก ผมขอใหัคุุณเดา หรือสันนิฐานไว้ก่อนว่า ..หัก.. เพราะถ้าหักคุณจะต้องดามมัน ก่อนที่จะมีการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บออกมา สมมุติคุณดามไป ถึงโรงพยาบาล แพทย์ส่งX-ray แล้วกลับมาบอกคุณว่า "ดามมาทำไมไม่เห็นหักเลย " แล้วเกิดผลเสียต่อผู้บาดเจ็บหรือไม่ ....คำตอบคือ ไ่่ม่เลย กลับกันถ้าคุณเดาว่าไม่หักแล้วไม่ได้ดามไป(แต่ในความเป็นจริงเกิดหัก ) ขณะเคลื่อนผู้บาดเจ็บเกิดกระดูกส่วนที่หักแทงเส้นเลือดเส้นประสาทบริเวณที่หัก จะเกิดผลเสียต่อผู้บาดเจ็บท้นที


 








ฉะนั้นถือเป็นหลักการ ถ้าคุณไม่มั่นใจว่ากระดูกหักหรือไม่ ให้เดา หรือสันนิฐานทันทีว่า "หัก"

 
หลักการดามกระดูก หรือการเข้าเฝือกชั่วคราว ( Splint )


เมื่อเราทราบว่าผู้บาดเจ็บมีภาวะกระดูกหัก คุณจำเป็นจะต้องดามกระดูกก่อนให้การเคลื่อนย้าย โดยมีหลักในการดามดังนี้

1. กระดูกที่มีลักษณะหักแบบเปิด ให้ใช้ผ้าสะอาดปิดคลุมบริเวณที่บาดเจ็บ
2. ห้ามจัดหรือดึงกระดูกให้เข้าที่ ไม่ว่ากระดูกนั้นจะโก่ง งอ หรือคด
3. ผูกเฝือกให้แน่นพอควร เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก
4.ดามแบบ " สูง 1 ต่ำ 1 " เสมอ ทุกครั้งที่ดามกระดูก ให้ใช้หลักการดังนี้ " ดามให้เฝือกอยู่สูงกว่าส่วนที่หักขึ้นไป 1 ข้อ และดามให้เฝือกอยู่ต่ำกว่าส่วนที่หักลงไป 1 ข้อ" เช่น กระดูกปลายแขนหัก (กระดูกแขนที่อยู่ระหว่างข้อมือจนถึงข้อศอก ) คุณต้องดามให้เฝือกยาวกว่าข้อศอก (สูง 1) และยาวกว่าข้อมือ( ต่ำ 1 ) ถ้าคุณดามได้ดังนี้ จะส่งผลให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยมากเวลาเคลื่อนย้าย

กระดูกต้นแขนหัก กระดูกต้นขาหัก กระดูกปลายขาหัก
(หัวไหล่-ข้อศอก ) (ข้อสะโพก-ข้อเข่า) (ข้อเข่า-ข้อเท้า )


หากคุณสามารถทำได้ตามหลักการที่บอกไว้ รับประกันได้ว่า จะสามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บาดเจ็บได้ รวมทั้งยังสามารถลดหรือบรรเทาอาการเจ็บปวดได้มากทีเดียว

หมายเหตุ :



บริษัท สยาม เมดิคอล เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด

ผู้ให้บริการการอบรม

หลักสูตรการปฐมพยาบาลและปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
( First Aid And Basic Life Support )



หลักสูตรการปฐมพยาบาลขั้น 2 ( สูง ) ระยะเวลาอบรม 3 วัน
( First Aid Level 2 and Cardio Life Support with AED )


ติดต่อขอรายละเอียดได้ทางอีเมล์ หรือ โทรศัพท์ ด้านล่างนี้ TEL : 087-034-9000 , 088-892-5193, 095-515-6086 
EMAIL : siammtc@ gmail.com


การปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บบริเวณกระดูกและข้อ


บริษัทสยาม เมดิคอล เทรนนิ่ง เซ็นเตอร์ จำกัด
ผู้ให้บริการอบรม

1. หลักสูตรการปฐมพยาบาลและปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
( First Aid And Basic Life Support )




2. หลักสูตรการปฐมพยาบาลขั้น 2 ( สูง ) ระยะเวลาอบรม 3 วัน
( First Aid Level 2 and Cardio Life Support with AED  )


หมายเหตุ 1 : เนื้อหาของบทความด้านล่างเกิดจากประสบการณ์จริง ของผู้เขียนทั้งในบทบาทของผู้ให้การรักษาพยาบาล ผู้พบเห็นในขณะที่ยังทำงานในตึกอุบัติเหต และบทบาทของวิทยากร ผู้เขียนจึงอยากนำเทคนิค ดังกล่าวมาถ่ายทอด เพื่อประโยชน์ต่อนักปฐมพยาบาลทุกคนที่มีส่วนช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ อีกทั้งยังช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับ
ผู้
บาดเจ็บ อันจะส่งผลให้ผู้บาดเจ็
บสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติ
การปฐมพยาบาลผู้ป่่วที่มีการบดเจ็บกระดูกและข้อ

1. ข้อเคล็ด
ข้อเคล็ด หมายถึง การฉีกขาดของเนื้อเยื่อรอบๆข้อต่อ อันเนื่องมาจากการถูกดึง กระชาก ยืด หรือบิดมากกว่าปกติการปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเคล็ด
ให้นักปฐมพยาบาลใช้หลักการเดียวกับการปฐมพยาบาลบาดแผลปิด (แผลฟกช้ำ ) นั่นคือใช้ RICE มาเป็นแนวทางในการรักษา ซึ่งประกอบด้วย

1. REST หยุดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ และข้อบริเวณที่ได้รับการบาดเจ็บทันทีที่สามารถทำได้ การกระทำดังกล่าวจะทำใ้ห้ เส้นเลือดฝอยที่นำเลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นแตกน้อยลง มีผลให้เกิดการบวมของข้อน้อยลง และเส้นเอ็น เส้นประสาท กล้ามเนื้อ ก็ฉีกขาดน้อยลง2. ICE ให้นำน้ำแข็งหรือน้ำเย็นมาประคบบริเวณอวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บทันที จะมีผลทำให้เส้นเลือดที่ฉีกขาดอยู่หดตัว เลือดก็ซึมออกจากเส้นเลือดน้อยลงอาการบวมก็ลดลงตามมา อีกทั้งความเย็นยังช่วยระงับอาการปวดของข้อได้ด้วย แต่ใช้น้ำแข็งประคบเพียง 24 ชั่วโมงหลังได้รับการบาดเจ็บ หลังจาก 24 ชั่วโมงหรือเลย 1 วันไปแล้วให้ใช้น้ำอุ่นประคบ หากนักปฐมพยาบาลต้องการใช้ยาทาช่วยในการรักษา ใน 1วันแรกหลังเกิดเหตุห้ามใช้ยาสูตรร้อนเด็ดขาด ให้ทาอย่างเดียวห้ามนวด3. COMPRESSION ้้ห้ใช้ผ้ายืดพันยึดข้อบริเวณนั้นไม่ให้เคลื่อนไหวมากขึ้น การพันผ้ายืดที่ถูกต้องให้ใช้หลักการดังต่อไปนี้
3.1 ผ้าที่พันต้องอยู่ในลักษณะที่เป็นม้วน แน่น และสะ
อาด เพื่อให้มีน้ำหนักในการพันทุกครั้ง
3.2 การพันต้องหงายผ้าพันขึ้นเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าหล่นจากมือ
3.3 การพันเพื่อให้มีประสิทธิภาพต่อส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บที่สุด ควรใช้ส่วนที่เจ็บเป็นจุดกึ่งกลาง และแบ่งพื้นที่ที่จะพันออกไปแต่ละข้าง
3.4 การพันให้เริ่มจากส่วนปลายของอวัยวะไปยังส่วนโคน เช่นพันจากปลายแขนไปยังต้นแขน เพื่อให้มีการรีดเลือดที่คั่งบริเวณดังกล่าวกลับสู่หัวใจ เ
ป็นการลดบวมได้มากขึ้น
3.5 วิธีการพันที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพที่สุดควรพันแบบ เลขแปด ( 8 ) หรือแบบไข้ว เพราะการพันด้วยวิธีดังกล่าวจะทำให้อวัยวะถูกยึดแน่น หากด้านใดด้านหนึ่งถูกดึงรั้ง ผ้ายืดอีกด้านจะดึงรั้งกลับให้ทันที

4. ELEVATION ยกส่วนที่เจ็บให้สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อให้เลื้อมาหล่อเลี้ยงบริเวณดังกล่าวน้อยลง ทำให้อาการบวมลดลง

! มีหลายท่านเหมือนกันที่ถามว่า มีวิธีการจำที่ง่ายกว่านี้หรือไม่ ( เพราะบางครั้งนึกไม่ออกว่าความหมายของคำว่า RICE แต่ละตัวแปลว่าอะำไร ) ได้ครับผมจะให้หลักในการจำไป ดังนี้ ต่อไปถ้ามีอะไรมากระทบกระแทกจนเิกิดเป็นบาดแผลปิด หรือเกิดอาการข้อเคล็ด ให้นำหลักการ 4 ย.ไปใช้ทันที นั่นคือ
1. ย. ที่ 1 " หยุด "
2. ย. ที่ 2 " ยก "
3. ย. ที่ 3 " ยึด "
4. ย. ที่ 4 " เย็น "


***การปฐมพยาบาลข้อเคล็ด ที่ ผิด !!!
เมื่อมีอาการบาดเจ็บบริเวณข้อ ท่านสามารถใช้หลักการ RICE หรือ 4 ย. แต่ห้ามใช้สิ่งเหล่านี้เด็ดขาด นั่นคือ HARM
H = Heat ความร้อนเช่น ลูกประคบ ห้ามใช้เด็ด โดยเฉพาะใน 1 วันแรกหลังเกิดเหตุ เส้นเลือดจะขยายตัวมากขึ้น เป็นผลทำให้เลือดออกมากขึ้น สุดท้ายจะบวมมาก

A = Alcohol เป็นข้อห้ามเนื่องจากจะทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดแรง ทำให้เลือดมีโอกาสไหลไปบริเวณที่บวมมากขึ้น

R = Runing ห้ามออกกำลังกายในบริเวณอวัยวะที่มีการบาดเจ็บ ให้หยุดพักหรือหยุดนิ่งให้มากที่สุด

M = Massage ห้ามนวดเด็ดขาดเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อ เอ็น และเส้นประสาทบริเวณที่ได้รับการบาดเจ็บอักเสบมากกว่าเดิม
เพียงเท่านี้คุณก็สามารถปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บที่ได้รับอันตรายจนเกิดบาดแผลชนิดปิด หรือข้อเคล็ดได้แล้ว

หมายเหตุ 2 :
- หากท่านผู้อ่านต้องการบทความ/ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในหัวข้ออื่นๆ
ท่านสามารถส่งเมล์มาได้ที่ siammtc@gmail.com
- บริษัทสยามเมดิคอลเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด 087-034-9000 , 088-892-5193 , 095-515-6086
ผู้ให้บริการฝึกอบรมหลักสูตรการปฐมพยาบาลและการกู้ชีวิตเบื้องต้น
หากท่านต้องการทราบรายละเอียดและราคาเกี่ยวกับหลักสูตรดังกล่าวกรุณาติดต่อได้ที่
บริษัทสยามเมดิคอลเทรนนิ่งเซ็นเตอร์ จำกัด หรือ อีเมล์ siammtc@gmail.com